< ย้อนกลับ...หน้าแรกชมรม  
 
   
     
 
   
   
 

ชมรมเด็กไทยปลอดภัย (Safe Kids Thailand Club : SKT)
“Children’s Influence to Generate World Safety”

อุบัติเหตุและความรุนแรงเป็นสาเหตุนำการเสียชีวิตในเด็กไทย
คิดเป็นร้อยละ 36 ของการเสียชีวิตทั้งหมด เฉลี่ยปีละ 3 พันกว่าราย
แม้รัฐจะมีนโยบายกำกับ กฎหมายบังคับ และโครงการป้องกันแก้ไข

แต่กลับไม่ทำให้การบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กลดลง
ประกอบกับครอบครัว ชุมชน สังคม สื่อ ไม่ตระหนักว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ
มีกฎหมายแต่การปฏิบัติกลับอ่อนแอ พฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่างของเด็กถูกยอมรับอย่างเสรี

ปี พ.ศ.2546 มีกลุ่มเยาวชนที่สนใจเรื่องความปลอดภัย
รวมตัวจัดตั้ง ชมรมเด็กไทยปลอดภัย ทำงานความปลอดภัยในเด็กทุกเรื่อง
และได้ตระหนักถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากมอเตอร์ไซค์ ทุกคนเรียนรู้ร่วมกันและ
คิดค้นแนวทางต่างๆ โดยปรึกษาผู้รู้และศึกษานวัตกรรมที่ใช้ได้ผล
แล้วมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชน
ผู้ปกครอง ชุมชน สังคมรับรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงของมอเตอร์ไซค์
เผยแพร่วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 
     
   
     
 
   
  ชมรมเด็กไทยปลอดภัย มีทั้งหมด 11 ชมรม ใน 9 จังหวัด ได้แก่
1.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยซอยสวนเงิน กรุงเทพฯ
2.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยซอยสุเหร่า กรุงเทพฯ
3.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยเกาะจันทร์ จ.ชลบุรี
4.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยตลาดเกรียบ จ.อยุธยา
5.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยวังทรายพูน จ.พิจิตร
6.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยบ้านด่านชัยพัฒนา-วังสุเทพ จ.สระแก้ว
7.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยวังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
8.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยบ้านหนองกง จ.บุรีรัมย์
9.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยบ้านกระโพธิ์ – เริงรมย์ จ.ศรีสะเกษ
10.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยบ้านเขาดิน จ.พิษณุโลก
11.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยตำบลถนนใหญ่ จ.ลพบุรี
   
 
     
 

ปี พ.ศ. 2548 เกิดแนวคิดใหม่ว่า
ชมรมเด็กไทยปลอดภัยน่าจะมีตัวแทนจาก 11 ชมรมฯ ในชุมชน
เข้ามาเป็นผู้แทนในส่วนกลาง เพื่อขับเคลื่อนงานในระดับสังคมและ
ประเทศมากขึ้น อีกทั้งเป็นส่วนเชื่อมโยงชมรมฯ ทั้ง 11 แห่ง
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ดังนั้น แกนนำชมรมเด็กไทยปลอดภัย (Central Committee of Safe Kids Thailand Club)
จึงถือกำเนิดขึ้นจากตัวแทนสมาชิกทั้ง 11 ชมรม และสร้างสรรค์โครงการ / กิจกรรมดีๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

พวกเราสรรค์สร้างกิจกรรมความปลอดภัยภายใต้การพัฒนางาน 6 ด้าน ได้แก่
1.)การพัฒนาความรู้และศักยภาพแกนนำ
2.)การเฝ้าระวังความเสี่ยง(พฤติกรรม - สิ่งแวดล้อม)
3.)การเผยแพร่ความรู้
4.)การรณรงค์
5.)การผลิตสื่อ
6.)การสร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านความปลอดภัย

เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาวะที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ครอบครัว ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ จนได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและ
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน ปี 2550 สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์
อาสาสมัคร สวัสดิการ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน
มอบโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์