< ย้อนกลับ...หน้าแรกชมรม  
 
   
     
 
   
     
 
 

ชมรมเด็กไทยปลอดภัย (Safe Kids Thailand Club : SKT)
“Children’s Influence to Generate World Safety”

อุบัติเหตุและความรุนแรงเป็นสาเหตุนำการเสียชีวิตในเด็กไทย
คิดเป็นร้อยละ 36 ของการเสียชีวิตทั้งหมด เฉลี่ยปีละ 3 พันกว่าราย
แม้รัฐจะมีนโยบายกำกับ กฎหมายบังคับ และโครงการป้องกันแก้ไข

แต่กลับไม่ทำให้การบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กลดลง
ประกอบกับครอบครัว ชุมชน สังคม สื่อ ไม่ตระหนักว่าความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ
มีกฎหมายแต่การปฏิบัติกลับอ่อนแอ พฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่างของเด็กถูกยอมรับอย่างเสรี

ปี พ.ศ.2546 มีกลุ่มเยาวชนที่สนใจเรื่องความปลอดภัย
รวมตัวจัดตั้ง ชมรมเด็กไทยปลอดภัย ทำงานความปลอดภัยในเด็กทุกเรื่อง
และได้ตระหนักถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากมอเตอร์ไซค์ ทุกคนเรียนรู้ร่วมกันและ
คิดค้นแนวทางต่างๆ โดยปรึกษาผู้รู้และศึกษานวัตกรรมที่ใช้ได้ผล
แล้วมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชน
ผู้ปกครอง ชุมชน สังคมรับรู้และตระหนักถึงความเสี่ยงของมอเตอร์ไซค์
เผยแพร่วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 
     
   
     
 
   
  ชมรมเด็กไทยปลอดภัย มีทั้งหมด 11 ชมรม ใน 9 จังหวัด ได้แก่
1.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยซอยสวนเงิน กรุงเทพฯ
2.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยซอยสุเหร่า กรุงเทพฯ
3.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยเกาะจันทร์ จ.ชลบุรี
4.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยตลาดเกรียบ จ.อยุธยา
5.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยวังทรายพูน จ.พิจิตร
6.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยบ้านด่านชัยพัฒนา-วังสุเทพ จ.สระแก้ว
7.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยวังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว
8.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยบ้านหนองกง จ.บุรีรัมย์
9.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยบ้านกระโพธิ์ – เริงรมย์ จ.ศรีสะเกษ
10.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยบ้านเขาดิน จ.พิษณุโลก
11.ชมรมเด็กไทยปลอดภัยตำบลถนนใหญ่ จ.ลพบุรี
   
 
     
 

ปี พ.ศ. 2548 เกิดแนวคิดใหม่ว่า
ชมรมเด็กไทยปลอดภัยน่าจะมีตัวแทนจาก 11 ชมรมฯ ในชุมชน
เข้ามาเป็นผู้แทนในส่วนกลาง เพื่อขับเคลื่อนงานในระดับสังคมและ
ประเทศมากขึ้น อีกทั้งเป็นส่วนเชื่อมโยงชมรมฯ ทั้ง 11 แห่ง
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ดังนั้น แกนนำชมรมเด็กไทยปลอดภัย (Central Committee of Safe Kids Thailand Club)
จึงถือกำเนิดขึ้นจากตัวแทนสมาชิกทั้ง 11 ชมรม และสร้างสรรค์โครงการ / กิจกรรมดีๆ อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

พวกเราสรรค์สร้างกิจกรรมความปลอดภัยภายใต้การพัฒนางาน 6 ด้าน ได้แก่
1.)การพัฒนาความรู้และศักยภาพแกนนำ
2.)การเฝ้าระวังความเสี่ยง(พฤติกรรม - สิ่งแวดล้อม)
3.)การเผยแพร่ความรู้
4.)การรณรงค์
5.)การผลิตสื่อ
6.)การสร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านความปลอดภัย

เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาวะที่ดีต่อเด็กและเยาวชน ครอบครัว ชุมชน สังคม
และประเทศชาติ จนได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและ
ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน ปี 2550 สาขาพัฒนาเยาวชน บำเพ็ญประโยชน์
อาสาสมัคร สวัสดิการ และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน
มอบโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 
     
 
 
 

“ทำไมเด็กจึงเป็นเหยื่อมอเตอร์ไซค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า” ??

 
     
 

อุบัติเหตุจราจรเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของเด็กอายุ 1-14 ปี
จำนวน 700 กว่ารายต่อปี และกว่า 60% เกิดจากมอเตอร์ไซค์ !!
ในแต่ละปี มอเตอร์ไซค์มียอดนำเข้าและจำหน่ายสูงกว่ารถชนิดอื่นๆ
ด้วยรูปลักษณ์ที่ดึงดูดผู้บริโภค ซื้อง่ายขายคล่อง มอเตอร์ไซค์
จึงกลายเป็นพาหนะหลักของครอบครัวไทย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวชนชั้นกลาง เด็กในครอบครัวเหล่านั้น
ต้องกลายเป็นผู้ใช้มอเตอร์ไซค์ไปตามความจำเป็นของครอบครัว
ในขณะเดียวกันสังคมก็ให้การยอมรับและถือเป็นเรื่องปกติ
ทำให้ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและตายจากมอเตอร์ไซค์
กลายเป็นความทุกข์ไล่ล่าเด็กเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 
     
 
 
     
 

“เพราะอะไร ทำไม??”

 
     
 
   
  1.เสี่ยงตั้งแต่แรกเกิด !!
ในเด็กแรกเกิด การเดินทางครั้งแรกในชีวิตคือจากโรงพยาบาลไปบ้าน ..ด้วยรถมอเตอร์ไซค์
..ด้วยความเต็มใจของพ่อแม่ รวมถึงในกลุ่มเด็กเล็กๆ ที่โดยสารมอเตอร์ไซค์เป็นประจำแต่ไม่สวมหมวกกันน็อค
   
  2.ขี่เป็นตั้งแต่เด็ก !!
ตามกฎหมายเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่สามารถมีใบขับขี่ได้
แต่ในทางปฏิบัติทุกชุมชนกลับยอมรับการขับขี่ของเด็กโดยไม่มีใบขับขี่ แม้อายุเพียง 8 – 9 ขวบก็เริ่มขับขี่ได้
นอกจากนี้กลุ่มเด็กโตมักเสี่ยงอันตราย ชอบท้าทาย เช่น ขับขี่ด้วยความเร็วสูง แซงกระชั้นชิด ขับแข่งขัน ขับโลดโผน ขับกลางคืน ฯลฯ
   
 

3.เข้าสู่วัยรุ่น .. ยิ่งเสี่ยงมาก !!

... วัยรุ่น เป็นนักขับมือใหม่ขาดประสบการณ์การขับขี่ ไม่สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ได้ดีพอ

... วัยรุ่น มักมีพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย จากอารมณ์ของวัยรุ่นเอง แรงยุจากเพื่อน และความเครียดอื่นๆ

... วัยรุ่น นิยมใช้มอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะ

... วัยรุ่น มักดื่มเหล้าและใช้ยาก่อนขับขี่

... วัยรุ่น ไม่ชอบใส่หมวกกันน็อค

   
 
   
 
     
  วอนผู้ใหญ่ “เฝ้าดูแล ปกป้อง คุ้มครองเด็ก”  
     
 

ถ้าต้องการหยุดยั้งการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีจากการใช้มอเตอร์ไซค์นั้น
วิธีที่ดีที่สุดคือ ไม่สนับสนุนให้เด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ (เป็นไปตามกฎหมายในปัจจุบัน)
ทั้งพ่อแม่ ชุมชน โรงเรียนช่วยกันสร้างวิถีชีวิตใหม่ แนวคิดใหม่แก่เด็ก
หากผู้ใหญ่คิดว่า “เป็นไปไม่ได้” หรือ “ไม่เป็นไร” จะไม่มีทางแก้ไขปัญหานี้ได้เลย

แต่หากคิดว่าเราควรสร้างให้เด็กรับรู้ความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงวิถีชีวิตที่เป็นอันตราย
ควรเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ครอบครัว ชุมชน พิจารณาร่วมกับเด็กๆว่า
จะมีทางเลือกในการเดินทางทางอื่นได้อย่างไร ไม่สนับสนุนให้เด็กขับขี่ และไม่สร้างความประทับใจในรถมอเตอร์ไซค์แก่เด็กๆ

ถ้ายังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างข้างต้นที่กล่าวมา
ต้องวอนผู้ใหญ่ใจดีให้ความสำคัญกับการป้องกันเด็กจากอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์
ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กให้ปลอดภัย เฝ้าดูแลปกป้องคุ้มครอง และสอนเด็กให้รู้จักกฎแห่งความปลอดภัย

 
     
 
 
     
 
   
 

ช่วงอายุ

อันตรายที่ต้องระวัง และการปฏิบัต

น้อยกว่า 2 ปี

    1.ไม่ควรให้เด็กน้อยอายุกว่า 2 ปี โดยสารรถมอเตอร์ไซค์ เพราะยังไม่สามารถที่จะคิดค้นอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยใดๆแก่เด็กวัยนี้ได้ ดังนั้นควรรณรงค์ให้ประชาชน พ่อแม่รับรู้ความเสี่ยง ผู้ใหญ่ที่นำเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปีโดยสารมอเตอร์ไซค์ เสมือนหนึ่งผู้ทารุณกรรมหรือละเลยต่อความปลอดภัยของเด็ก
    2.อย่าให้เด็กวัยนี้เล่นใกล้ถนนที่มีรถเข้าออก

 

อายุ 2 – 4 ปี
(เด็กในศูนย์เด็กเล็ก หรือชั้นอนุบาล)

   1.เด็กอายุมากกว่า 2 ปี จะโดยสารมอเตอร์ไซค์ได้ต้องมีหมวกนิรภัย
   2.แยกพื้นที่เล่นเด็กออกจากพื้นผิวจราจรทั้งในบ้านและนอกบ้าน
   3.ต้องสำรวจและเตรียมเส้นทางการไปโรงเรียนให้ปลอดภัยตลอดระยะทาง
   4.ความเร็วของยานพาหนะในชุมชน ไม่ควรเกิน 30 กม./ชม.
   5.ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างพฤติกรรมที่ดีแก่เด็ก เช่น ใส่หมวกนิรภัยทุกครั้ง

 

อายุ 5 – 8 ปี
(นักเรียนชั้นประถมต้น)

อายุ 9 -14 ปี
(นักเรียนชั้นประถมปลายถึงมัธยมต้น)

   1.ผู้ใหญ่ต้องเป็นตัวอย่างพฤติกรรมที่ดี เช่น ใส่หมวกนิรภัยทุกครั้ง
   2.สอนให้รู้อันตรายของการดื่มเหล้าและใช้ยาก่อนขับขี่
   3.สอนให้รู้อันตรายของการชอบท้าทาย ชอบลอง  เช่น ขับขี่ด้วยความเร็วสูง  แซงกระชั้นชิด ขับแข่งขัน ขับโลดโผน ขับกลางคืน

 

   
 
  “เด็ก สอน เด็ก ได้อย่างไร”  
     
  จะดีไหม ถ้าเด็กและเยาวชนในชุมชนของท่านสามารถเป็นผู้นำเรื่องความปลอดภัย
อีกทั้งถ่ายทอดความรู้ และตัวอย่างที่ดีแก่เด็กๆ ด้วยกันเอง โดยการนำความรู้มาผสมผสานกับเกมการสอนที่สนุกสนาน
 
 
   
 

เรื่องที่สอน

ความรู้

หมวกกันน็อค

ขนาดเส้นรอบวงหมวกที่เหมาะสม


- อายุ 2 - 4 ปี = ขนาดหมวก 500 มม.
- อายุ 5 - 8 ปี = ขนาดหมวก 530-540 มม.
- อายุ  >8ปี = ขนาดหมวก 570-580 มม.


          สอนให้เด็กรู้ว่าหมวกกันน็อคมีความสำคัญมาก  สามารถป้องกันการกระแทกของศีรษะขณะเกิดอุบัติเหตุได้  แต่ต้องสวมหมวกกันน็อคให้ถูกวิธีด้วยการเลือกขนาดให้พอดีกับศีรษะ และรัดสายรัดคางให้แน่น
          หมวกกันน็อคที่ดีต้องใส่พอดีศีรษะ มีสายรัดที่ดีไม่หลุดง่าย เปลือกนอกมีความแข็งแรง ต้านทานการเจาะทะลุได้ เนื้อในสามารถดูดซับพลังงาน ป้องกันแรงจากการกระแทกได้  น้ำหนักหมวกมีความสำคัญต่อเด็กมาก เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นคอเด็กยังไม่แข็งแรงและศีรษะเด็กมีสัดส่วนที่ใหญ่ ดังนั้นหมวกที่หนักจะทำให้เกิดการหักของกระดูกต้นคอเมื่อเกิดการชนกระแทกได้

 

กฎหมาย /ป้ายจราจร

การรู้กฎ และวินัยในการขับขี่มีความสำคัญมาก เพราะเราต้องใช้รถใช้ถนนร่วมกับรถคันอื่นๆ การรู้ว่ากฎหมายจราจรมีบังคับใช้อย่างไร  ป้ายจราจรแต่ละป้ายบอกอะไร เตือนอะไร มีความจำเป็นมาก ถ้าละเลยไม่สนใจ อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต

พฤติกรรมเสี่ยง

ไม่ว่าจะเป็นการขับให้ถูกวิธี ไม่ซิ่ง ไม่ซ่าส์ ไม่ผาดโผน การแต่งกาย การเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง การมีน้ำใจบนท้องถนน และที่เราเน้นมากที่สุดคือการไม่ดื่มเหล้าก่อนขับขี่

สิ่งแวดล้อมเสี่ยง

เน้นสอนให้เด็กช่วยกันเป็นหูเป็นตาในการดูแลรักษาเรื่องของสิ่งแวดล้อมในชุมชน เช่น ถนนชำรุด ฝาท่อพัง ไม่มีลูกระนาดชะลอความเร็ว บางปัญหาเด็กๆ ก็สามารถรวมกลุ่มกันแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ เช่น ทำป้ายเตือน เป็นต้น ถ้าแก้เองไม่ได้ต้องบอกผู้ใหญ่