เกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
     
  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัย หมายถึง
ศูนย์เด็กเล็กที่มีการจัดการเรื่องความปลอดภัยด้วยการค้นหาปัญหา
และ ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บ การเฝ้าระวังการบาดเจ็บ
พฤติกรรมเสี่ยง สิ่งแวดล้อมเสี่ยง และ วางแผน-ดำเนินการแก้ไข
 
     
  วัตถุประสงค์ที่จัดตั้งโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัย  
  1.ลดการตาย พิการ และการบาดเจ็บของเด็กในศูนย์เด็กเล็ก  
  2.ส่งเสริมความเสมอภาคของเด็กในการเจริญเติบโต และโอกาสของการได้รับการส่งเสริมให้มีพัฒนาการที่ดี  
  3.เชื่อมโยงเครือข่ายการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาความปลอดภัยในศูนย์เด็กเล็ก  
     
  กิจกรรม  
  กิจกรรม ในโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัย
เกิดจากการใช้ทักษะในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา และป้องกันการบาดเจ็บ
และนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องที่ยั่งยืน ดังตัวอย่างกิจกรรมที่นำเสนอดังต่อไปนี้
 
     
  1.กิจกรรมการเฝ้าระวัง และการวิเคราะห์ความเสี่ยง
คือ การประชุมกลุ่มทำงานความปลอดภัยของศูนย์เด็ก รวมทั้งเครือข่ายผู้ให้ความสนใจ
หลังจากที่เดินสำรวจจุดเสี่ยง ได้ร่วมวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยภายในศูนย์และบริเวณรอบ ๆ ศูนย์
 
     
 
       
 
 
       
 
     
  2.กิจกรรมการเดินทางปลอดภัย
โครงการที่สนับสนุนการใช้หมวกนิรภัย ในเด็ก ให้ความรู้แก่
ผู้ปกครองสร้างนิสัยให้เด็กรักการใส่หมวกนิรภัยตั้งแต่วัยเยาว์
การนำเสนอปัญหา และการป้องกันแก้ไข เพื่อให้เด็กรักความปลอดภัยสอดแทรกในบทเรียน เช่น
โครงการหมวกกันน๊อคของน้องหนู โดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในองค์การบริหารส่วนตำบลวังทรายพูน
จังหวัดพิจิตร โครงการขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยให้ลูก โดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
โครงการปกป้องสมองลูกน้อย โดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 ศูนย์ฯ สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่
ศูนย์ฯร่วมพัฒนาบ้านป่า ศูนย์ฯ คลองสะแก ศูนย์ฯ ดารุสซุนนี ศูนย์ฯ เกาะจวนซันประสิทธิ์
ศูนย์ฯ บดินทรเดชา ศูนย์บึงพระราม 9 บ่อ 3
 
     
  2.1โครงการขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยให้ลูก
สอนเด็กๆ เรื่องการเดินทางปลอดภัยโดยการใช้หมวกนิรภัย ในบทเรียนให้เด็กๆ วาดภาพหมวกนิรภัยในฝัน
จากนั้นมีการอบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง และมีหมวกนิรภัยให้ผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานสวมหมวกนิรภัย
ในการเดินทาง ยืมโดยต้องทำสัญญายืมหมวก และมีข้อตกลงไว้กับศูนย์
 
     
   
     
 

2.2โครงการปกป้องสมองลูกน้อย
ดำเนินโครงการโดย ผู้บริหาร ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องการบาดเจ็บต่อศีรษะอันตรายจาก
ของเล่นประเภทขับขี่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใส่หมวกนิรภัยในเด็ก และศูนย์เด็กมีหมวกนิรภัย
สำหรับจักรยานและจักรยานยนต์ที่มีขนาดเหมาะสมสำหรับเด็ก ให้ผู้ปกครองสามารถยืมกลับบ้านได้

ผู้บริหารกำหนดเป็นนโยบายในการดูแลเด็กในศูนย์เมื่อเล่นเครื่องเล่นประเภทขับขี่
หรือเล่นเครื่องเล่นสนามจะต้อง สวมหมวกนิรภัยขณะเล่นทุกครั้ง ผู้ดูแลเด็กเก็บข้อมูลการบาดเจ็บ
และติดตามพฤติกรรมการใช้หมวกของเด็ก

 
     
   
     
  3.กิจกรรมการอบรมให้ความรู้
การจัดการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก และครูพี่เลี้ยงศูนย์สามารถจัดได้เอง
โดยส่งครูพี่เลี้ยงเข้ารับการอบรม แล้วมาถ่ายทอดต่อ หรือ เชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาทำการอบรมให
 
     
 
  3.1การอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการปฏิบัติการกู้ชีพ  
 
    - เชิญวิทยากรจากภายนอก
 
 
 
 
    - ครูพี่เลี้ยงที่ผ่านการอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับครูพี่เลี้ยงที่ยังไม่ได้รับการอบรม
 
 
 
     
  3.2ครูพี่เลี้ยงฝึกปฏิบัติการระงับเหตุเพลิงลุกไหม้เบื้องต้น  
     
 
 
     
 
  4.กิจกรรม ใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อความปลอดภัย
เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการใช้เครื่องมือเฝ้าระวังการบาดเจ็บ และได้ร่วมวิเคราะห์สาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหา
โดย ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ซึ่งจำเป็นต้องใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อความปลอดภัยของลูกหลาน
เช่น งบประมาณขององค์กรส่วนท้องถิ่น หรืองบประมาณสำหรับพัฒนาศูนย์ เป็นหลัก
 
 
  4.1ลูกกรง ราวระเบียงปลอดภัย  
  ลูกกรงราวระเบียง มีช่องห่างระหว่าง 9-23 เซนติเมตร
ซึ่งอาจทำให้เด็กลอดช่องลูกกรงได้ จึงถูกแก้ไข ช่องห่างของลูกกรงไม่เกิน 9 เซนติเมตร
 
     
 
 
     
  4.2หน้าต่างปลอดภัย  
  หน้าต่างสูงจากพื้น ไม่ถึง 1 เมตร อาจทำให้ตกชะโงก หรือ ปีนหน้าต่างตกลงไปได้จึงแก้ไขโดยการติดมุ้งลวด  
     
 
 
     
  4.3ติดตั้ง อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย มุม เหลี่ยมเสา กันลื่น ตัวล็อคตู้  
     
 
 
     
 
  5.กิจกรรม เตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉิน
มีแผนฝึกซ้อมการป้องกันภัย และทำการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ
อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง มีระบบจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
เมื่อเกิดเหตุแล้วเด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้