หน้าหลัก  
 
 
::
 การดำเนินชุดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
   
 
 
     
 
การดำเนินชุดโครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
(Child Safety Promotion and Injury Prevention Project) จำนวน 7 โครงการย่อย
 
 
   
     
 
 
  แนวคิดชุดโครงการ  
     
  1.ความปลอดภัยในเด็กจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงบรรทัดฐานของสังคม
ให้ยอมรับสิทธิของเด็กในการอยู่อาศัย การเล่นอย่างปลอดภัย ผู้ใหญ่เป็นผู้จัดทั้งสิ่งแวดล้อม
เชิงกายภาพและเชิงสังคมให้กับเด็ก ดังนั้นความไม่ปลอดภัยที่เกิดกับเด็กแต่ละรายคือ
การละเลยโดยผู้ใหญ่ และเป็นการละเมิดสิทธิที่เด็กพึงได้รับ
 
     
  2.ความปลอดภัยในเด็กจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องมีการทำงานร่วมกันของเครือข่ายหลายวิชาชีพ
ดังนั้นการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพจะต้องผลักดันให้ทุกเครือข่ายเดินหน้าในเรื่อง
ความปลอดภัยในเด็กไปพร้อมๆกัน โดยนำความเชี่ยวชาญของแต่ละเครือข่ายมาสู่ข้อกำหนด
มาตรฐานความปลอดภัยเฉพาะเรื่อง รวมทั้งการบูรณาการความปลอดภัยในพื้นที่โดยประชาชน
มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้เหมาะสมกับปัญหา ทรัพยากรและ วัฒนธรรม
 
     
  3.แผนในชุดโครงการนี้ เป็นการดำเนินงานบูรณาการความปลอดภัยในพื้นที่ต่อเนื่อง
จากโครงการเด็กไทยปลอดภัย 3 เพื่อให้มีรูปแบบงานบูรณาการในพื้นที่และการมีส่วนร่วม
ของประชาชนมีความชัดเจนมากขึ้น สามารถขยายผลครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัด และนำเป็นแบบ
อย่างสู่การขยายผลระดับประเทศได้ต่อไป
 
     
  4.นอกจากนั้นแผนในชุดโครงการนี้ ยังใช้ประเด็นเฉพาะที่มีพลังในการขับเคลื่อนเครือข่าย
และมีพลังในการสื่อสู่สาธารณะเพื่อสร้างบรรทัดฐานสังคมในการพิทักษ์สิทธิความปลอดภัยให้เด็ก
เป็นกลไกการผลักดันทั้งในพื้นที่จังหวัดนำร่องและในระดับประเทศด้วย โดยใช้ 3 เรื่องหลักคือ
ความปลอดภัยในของเล่น สารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม และ นักมวยเด็ก
 
     
 
     
 
  พื้นที่ดำเนินการ  
     
  พื้นที่เป้าหมายหลัก 4 จังหวัด ได้แก่จังหวัด พิจิตร บุรีรัมย์ สระแก้ว และ กรุงเทพ คือ
พื้นที่ที่โครงการผลักดัน (proactive) ให้เป็นเมืองปลอดภัยสำหรับเด็ก
พื้นที่เป้าหมายรอง 14 จังหวัดคือ พื้นที่ที่ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และโครงการตอบสนอง
ตามความพร้อมและความต้องการขององค์กรชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่ (reactive)
พื้นที่เหล่านี้อยู่ในโครงการชุมชนปลอดภัยของศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก
ที่ทำงานร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ชุมชนเพื่อป้องกันอุบัติภัยและสาธารณภัย 14 จังหวัดได้แก่
ระยอง ตราด ราชบุรี พังงา นครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ น่าน ลพบุรี ชลบุรี อยุธยา สระบุรี ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ
 
     
 
     
 
  วัตถุประสงค์ ชุดโครงการ  
 

ระดับสังคม

 
     
  1.เพื่อสร้างเครื่องมือให้อนุกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนเพื่อป้องกันอุบัติภัยและสาธารณภัย
ในคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ในการดำเนินงานนโยบายชุมชนปลอดภัย ด้านความปลอดภัยในเด็ก
และสนับสนุนให้มีการขยายผลการปฏิบัติตามนโยบายอย่างต่อเนื่อง
 
     
  2.เพื่อให้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของโรงเรียนโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและคุณภาพการศึกษา
และมีการกำกับนโยบายความปลอดภัยในโรงเรียนโดยกระทรวงศึกษาธิการ
 
     
  3.เพื่อให้มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของศูนย์เด็กเล็กโดย กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงแรงงาน
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และมีการกำกับการปฏิบัติตามนโยบาย
 
     
  4.เพื่อสนับสนุนให้สภาเยาวชนชมรมเด็กไทยปลอดภัย และกลุ่มเยาวชนอื่นๆ ได้นำเสนอประเด็นความปลอดภัยในเด็กแก่สังคมอย่างมีพลัง โดยผ่านสื่อสาธารณะรูปแบบต่างๆ  
     
  5.เพื่อให้มีการกำหนดนโยบายการพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กในระดับชาติโดยคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ หรือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และมีการกำกับให้เกิดการปฏิบัติจริง  
     
  6.ขับเคลื่อนให้มีการใช้ พรบ ความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์ โดยใช้กรณีของเล่น สนามเด็กเล่น สวนสนุก ภาชนะมีสารตะกั่ว เป็นผลิตภัณฑ์นำ และศึกษาผลดีและผลเสียจากพรบ  
     
  7.ขับเคลื่อนหน่วยงานที่ต้องทำหน้าที่ควบคุมอันตรายจากของเล่น สนามเด็กเล่น สวนสนุก สิ่งแวดล้อม (สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมจังหวัด กรมโยธาธิการ องค์กรท้องถิ่น องค์กรที่มีบทบาทด้สิ่งแวดล้อม สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค) ให้ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ และมีการดำเนินงานเพื่อปรับปรุง เพิ่มเติมกฏหมายที่จำเป็น  
     
  8.เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามพรบ คุ้มครองเด็ก มาตรา 26 (6) (7) โดยคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ในกรณีของนักมวยเด็ก และขยายผลสู่กรณีอื่น  
     
  ระดับพื้นที่ 4 จังหวัดหลัก  
     
  1.เพื่อให้ได้รูปแบบจังหวัดตัวอย่าง 4 จังหวัดหลัก ที่สามารถขยายผลการดำเนินงานชุมชนปลอดภัยสำหรับเด็ก
อันประกอบด้วยชุมชนปลอดภัย โรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย ศูนย์เด็กเล็กปลอดภัย การมีส่วนร่วมของเด็ก
ระบบข้อมูลการเฝ้าระวังและการพิเคราะห์เหตุการตาย อย่างยั่งยืนภายในจังหวัด
 
     
  2.เพื่อสนับสนุนให้สภาเยาวชน ชมรมเด็กไทยปลอดภัย และกลุ่มเยาวชนอื่นๆ ใน 4 จังหวัดหลัก ได้แสดงออกในด้านการเรียกร้องความปลอดภัยในเด็กแก่สังคมอย่างมีพลัง  
     
  3.เพื่อให้ 4 จังหวัดหลัก พัฒนาระบบการตรวจสอบ ควบคุม อันตรายจากผลิตภัณฑ์ และ สิ่งแวดล้อม
ทั้งในระดับจังหวัดและชุมชน โดยใช้กรณีของเล่น สนามเด็กเล่น สวนสนุก ภาชนะมีสารตะกั่ว เป็นผลิตภัณฑ์นำ
และสามารถใช้ระบบดังกล่าวในการขยายผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับจังหวัดอื่นต่อไป
 
     
  4.เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตามพรบ คุ้มครองเด็ก มาตรา 26 (6) (7)
โดยคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก 4 จังหวัดหลัก ในกรณีของนักมวยเด็ก และขยายผลสู่กรณีอื่น
 
     
     
 
  ความเป็นมา