-หน้า5-
  >โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
 
 

จากการสังเกตพบว่า
พฤติกรรมการอพยพหนีไฟของนักเรียนในระดับชั้น
ป.1 –ป.3 โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพดี (X = 2.60)
เมื่อพิจารณารายข้อ เรียงระดับคุณภาพจากมากไปหาน้อย
พบว่านักเรียนในระดับชั้น ป.1 – ป.3
มีระดับคุณภาพในการอพยพหนีไฟ ดังนี้

ข้อที่ 2 เมื่อพบควันไฟหนาบนอาคาร
นักเรียนคลานต่ำเพื่อหนีไฟ (X = 3.03)
ข้อ 1 เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนอัคคีภัย สามารถควบคุมสติได้ และ
ข้อ 3 สามารถหนีไฟตามทางหนีไฟประจำสายชั้นของตนเองได้
อย่างคล่องแคล่วและเป็นระเบียบ (X = 2.49)
และ ข้อ 4 มาถึงจุดรวมพลได้ภายในกำหนดเวลา 5 นาทีอย่างน้อย 80 %
ของนักเรียนทั้งหมด (X = 2.39)
ส่วนการประเมินผลการสังเกตพฤติกรรมการอพยพหนีไฟของนักเรียน
ในระดับชั้น ป.4 – ป.6 โดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก (X = 3.58)

เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่านักเรียนในระดับชั้น ป.4 – ป.6
มีระดับคุณภาพในการอพยพหนีไฟ เรียงระดับคุณภาพจากมาก
ไปหาน้อย ดังนี้

ข้อ 4 นักเรียนจำนวนอย่างน้อย 80 %
มาถึงจุดรวมพลได้ภายในกำหนดเวลา 5 นาที (X = 3.60)

ข้อ 3 สามารถหนีไฟตามทางหนีไฟประจำสายชั้นของตนเองได้อย่าง
คล่องแคล่วและเป็นระเบียบ (X = 3.50)

ข้อ1 เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนอัคคีภัย สามารถควบคุมสติได้ (X = 3.24)

และ ข้อ 2 เมื่อพบควันไฟหนาบนอาคาร นักเรียนคลานต่ำเพื่อหนีไฟ (X = 3.00)

การใช้แผนฉุกเฉินซ้อมอพยพหนีไฟของนักเรียน
โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง พบว่า
มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
จำนวน 742 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,060 คน
สามารถมาถึงยังจุดรวมพลได้โดยปลอดภัยภายในเวลา 5 นาที
คิดเป็น ร้อยละ 70 และมีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 960 คน
จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,066 คน
สามารถมาถึงยังจุดรวมพลได้โดยปลอดภัยภาย
ในเวลา 5 นาที คิดเป็นร้อยละ 90

จากการประเมินผลการมีส่วนร่วมของบุคลากรในโรงเรียน
หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 100 ชุด ประกอบด้วย

1.บุคลากรในโรงเรียน 80 ชุด
2.เจ้าหน้าที่ดับเพลิง 10 ชุด
3.เจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการสาธารณสุข 5 ชุด
4.เจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 ชุด

ซึ่งสอบถาม 2 ประเด็น คือ
1. ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ตามแผนฉุกเฉิน
1.1 อธิบายรูปแบบวิธีการของแผนฉุกเฉินแก่บุคคลอื่นๆได้
1.2 ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับแผนฉุกเฉินได้
1.3 ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายในแผนฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง

2. ความร่วมมือในการใช้แผนฉุกเฉินอพยพหนีไฟ
2.1 เป็นผู้นำในการอพยพหนีไฟที่ดีรับผิดชอบต่อหน้าที่
2.2 ปฏิบัติหน้าที่ตามแผนฉุกเฉินอย่างเต็มกำลังตามความสามารถโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน
2.3 เข้าร่วมกิจกรรมการใช้แผนฉุกเฉินอพยพหนีไฟด้วยความเต็มใจ

จากการประเมินพบว่า ในประเด็นที่ 1 บุคลากรในโรงเรียน
และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติหน้า
ที่ตามแผนฉุกเฉินอพยพหนีไฟ ตามรายการประเมิน ดังนี้

ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายในแผนฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง
ร้อยละ 100 , สามารถอธิบายรูปแบบวิธีการของแผนฉุกเฉินแก่
บุคคลอื่นๆได้ ร้อยละ 90 และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับแผนฉุกเฉินได้
ร้อยละ 88 จะเห็นได้ว่าบุคลากรในโรงเรียน และ
หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ตาม
แผนฉุกเฉินโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 92.66
นอกจากนี้ประเด็นที่ 2 พบว่าบุคลากรในโรงเรียน และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ให้ความร่วมมือในการซ้อมแผนฉุกเฉิน ตามรายการประเมิน ดังนี้

ปฏิบัติหน้าที่ตามแผนฉุกเฉินอย่างเต็มกำลังตามความสามารถ
โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียนร้อยละ 100 ,
เป็นผู้นำในการอพยพหนีไฟที่ดี รับผิดชอบต่อหน้าที่ร้อยละ 85
และเข้าร่วมกิจกรรมการใช้แผนฉุกเฉินอพยพหนีไฟด้วยความเต็มใจ
ร้อยละ 90 จะเห็นได้ว่าบุคลากรในโรงเรียน และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ให้ความร่วมมือในการซ้อมแผนฉุกเฉินอยู่ในระดับดีมาก โดยเฉลี่ยร้อยละ 91.66

 

9. ประเมินความสำเร็จ

การเตรียมความพร้อมของอุปกณ์ดับเพลิง
มีความสำคัญยิ่งต่อกรณีการเกิดอัคคีภัยภายในโรงเรียน
เพราะโดยส่วนมากโรงเรียนมักจะตั้งอยู่ศูนย์กลางของแหล่งชุมชน

ถ้าเกิดอัคคีภัยในโรงเรียนแล้วอุปกรณ์ดับเพลิงใน
โรงเรียนที่ไม่มีความพร้อม อาจนำความสูญเสียจากอัคคีภัยขยายออก
ไปสู่ชุมชนในวงที่กว้างขึ้น ดังนั้นการเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการระงับเพลิง
เบื้องต้นก่อนที่หน่วยงานภายนอกจะเข้ามามีบทบาทในการดับเพลิงต่อไป

สำหรับการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยจากอัคคีภัยในปีการศึกษา 2552
ยังไม่มีเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายและสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
เพราะได้เตรียมความพร้อมและสำรวจจุดเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตราย
จากอัคคีภัยอยู่เสมอเช่น สายไฟ ปลั๊คไฟ

10. บทเรียนที่ได้รับ

การดำเนินการป้องกันอัคคีภัยในโรงเรียน
มีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมขององค์กรอยู่เสมอ
เพื่อดูแลเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดเหตุการณ์โดยไม่คาดคิด
และเกิดความเสียหายโดยไม่อาจคาดคะเนได้
การมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ และคนในชุมชนเพื่อ
ให้เกิดความเข้าใจกันในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อเกิดอัคคีภัยแล้วทุกคนต้องมีสติ
รู้หน้าที่ มีทักษะในการดูแลตัวเองเอาชีวิตรอดได้
และการมีมาตรการความปลอดภัยในการป้องอัคคีภัย
มีบทเรียนซ้อมอพยพนักเรียนตามแผนฉุกเฉินในโรงเรียน
มีการฝึกซ้อมทบทวนบทเรียนทุกๆปี เป็นการสร้างพฤติกรรมปลอดภัย
ให้เกิดกับนักเรียนทุกคน เพื่อนำไปสู่การป้องกันอุบัติภัยจากอัคคีภัยที่ยั่งยืน

 

11. ความต่อเนื่องการดำเนินการป้องกันอัคคีภัยในโรงเรียน

ควรจะต้องมีความต่อเนื่อง เนื่องจากนักเรียนจะ
ต้องเลื่อนชั้นไปเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น
เปลี่ยนชั้นเรียนและอาคารเรียนใหม่
เส้นทางการอพยพหนีไฟจะต้องเปลี่ยนไปด้วย
จึงมีความจำเป็นต้องซักซ้อมและนัดหมายกันทุกปี

12. การประยุกต์ใช้
โรงเรียนซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนจึง
ไม่ควรมองข้ามในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยในโรงเรียน
ควรมีมาตรการความปลอดภัยในการป้องกันอัคคีภัยและ
จัดทำแผนฉุกเฉินในโรงเรียน มีการซ้อมแผนฉุกเฉิน
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน
แผนฉุกเฉินเป็นบทเรียนหนึ่งที่ทำให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง
รวมทั้งมีการซักซ้อมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
กันในการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ดับเพลิงและติดตั้ง
ให้พร้อมใช้งาน จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย และสร้างพฤติกรรม
ปลอดภัยให้เกิดกับนักเรียนทุกคน เพื่อนำความรู้และประสบการณ์
ไปใช้ในครอบครัวและชุมชน