ภาคการศึกษาที่ 1/2551

โรงเรียนเคหะชุมชนลาดกระบัง
 
   
 
 
   
   
 

เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่    1  กรกฎาคม    2551  ถึงวันที่    1  ตุลาคม   2551

  1.ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ ผลรายงานดังนี้
  1.1ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงในโรงเรียนจำนวน 1 ครั้ง
 

1.2 พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ไม่ปลอดภัยจำนวน   13  ที่ดังนี้

 
     
  1. เชือกขึงสนามเปตองบริเวณสวนลูกเสือ  มีความเสี่ยง  30%  อาจทำให้สะดุดหกล้มได้  
  2. บริเวณพื้นอาคาร  5  ปูนร้าวพื้นไม่สม่ำเสมอ  มีความเสี่ยง   30%  อาจทำให้สะดุดหกล้มได้  
  3. หลุมหน้าห้องน้ำหลังอาคาร  4   มีความเสี่ยง  50%   นักเรียนตกหลุมหกล้ม  
  4. พื้นที่ลาดเอียงไม่สม่ำเสมอ บริเวณสวนลูกเสือ  มีความเสี่ยง  30 %    เดินสะดุดหกล้ม  
  5. กองหิน บริเวณสวนลูกเสือ มีความเสี่ยง  40 %   วิ่งเล่นลื่นหกล้ม  
  6. สังกะสีบนโต๊ะโรงอาหาร เปิดออก  มีความเสี่ยง  50 %  ทำให้บาดมือเวลายกอาหาร  
  7. ฝาท่อแตก หน้าห้องพยาบาล  มีความเสี่ยง  50 %  ทำให้เดินตกท่อ  
  8. เหล็กแหลมหลังรัชกาลที่  6  มีความเสี่ยง   20  เด็กเล็กๆ เล่นอาจเกิดการบาดเจ็บได้  
  9. ยางขอบเก้าอี้หลุดร่นออก  มีความเสี่ยง  70  %  นักเรียนยืนหรือนั่งไม่ระวังอาจบาดขาได้  
  10. มีก้อนหิน อิฐวางทับที่ลุ่ม มีความเสี่ยง  60  %  นักเรียนสะดุดได้  
  11. ตะปูยื่นออกมา บริเวณสวนลูกเสือ  มีความเสี่ยง  50 %  ตำมือได้  
  12. มีเหล็กแหลมยื่นออกมาจากม้านั่ง มีความเสี่ยง  50 %  แทงขาได้  
  13. เป็นหลุมบริเวณทางเข้าโรงเรียน  มีความเสี่ยง  30  %  ถ้าน้ำท่วมมองไม่เห็นหลุมทำให้ตกหลุม  
     
 

1.3 ได้แนบสำเนาแบบบันทึกการเดินสำรวจทั้งหมด จำนวน  13 แผ่น มาพร้อมรายงานนี้แล้ว

 
 
   
  2. ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณโรงเรียน ผลรายงานดังนี้
 
     
  1. ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน 14 คน  
  2. พบการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน 5 คน จากพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน 9 คน  
  3. การบาดเจ็บจากสิ่งแวดเสี่ยงนั้น มีจำนวน 2 คน ที่เกิดจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยงที่ได้สำรวจไว้  
  4. ได้แนบสำเนาการบาดเจ็บมาแล้ว 14 ชุด พร้อมรายงานฉบับนี้  
     
 
 
   
 

3. การวิเคราะห์ เมื่อวันที่  12  ตุลาคม  2551

 

คณะกรรมการความปลอดภัยได้นำข้อมูลการบาดเจ็บและ
การเดินสำรวจจุดเสี่ยงให้ผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะหัวหน้าเวรประจำวัน ประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน
เพื่อนำจุดเสี่ยง มาแก้ไข และบอกนักเรียนในจุดที่เกิดอุบัติบ่อยครั้ง

โดยเฉพาะบริเวณสนาม
ให้นักเรียนลดพฤติกรรมการเล่นที่อาจทำให้เกิดอันตรายกับนักเรียนได้
ผู้บริหารได้แจ้งภารโรงดำเนินการในจุดที่สามารถแก้ไขได้ทันที

   
 

ผลสรุป
คณะกรรมการความปลอดภัยของโรงเรียนทุกคนต้องช่วยเน้นย้ำ
พฤติกรรมการเล่นของนักเรียน

ครูเวรประจำวันให้กำชับนักเรียนสภานักเรียนคอยดูน้องๆ
เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ที่จะเกิดขึ้น ผู้บริหารสั่งดำเนินการ
แก้ไขจุดเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้

   
 

4. แผนการจัดความปลอดภัยของภาคเรียนที่  2/2551

  ไม่ต้องการเงินสนับสนุน แต่ได้เพิ่ม มาตรการ
โดยจัดแบ่งหน้าที่ให้ ยุวชน ปลอดภัย จำนวน 40 คน
รับผิดชอบตามจุด โดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 1 วัน
วันละ 8 คน ใช้นักเรียน ป.5-6
เพื่อดูแลน้องในเรื่องของความปลอดภัย
ในเรื่องการเล่นบริเวร จุดเสี่ยงที่ยังไม่ได้แก้ไข
และช่วยเหลือนักเรียนในเรื่องการบาดเจ็บ รวมถึงการทะเลาะวิวาทกัน
   
 

5. ปัญหาอุปสรรค

 

โรงเรียนกำลังก่อสร้างอาคาร พื้นที่ใช้สอยมีจำนวนจำกัด
มีกองวัสดุก่อสร้างทำให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังในบริเวณที่มีการก่อสร้าง
ต้องใช้บุคลากรในการเพิ่มความระมัดระวังในจุดนั้นๆ

การเดินกลับบ้านต้องแบ่งออกเป็นหลายจุด
เพื่อกระจายจำนวนนักเรียน ให้ไกลจากจุดก่อสร้างให้มากที่สุดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

ในเทอมที่ผ่านมาตำรวจจราจรไม่ได้มาให้บริการบ่อยเพราะกำลังไม่พอ
ครูเวรกับอาสาจราจร ต้องช่วย นำนักเรียนข้ามถนน อาจจะลำบาก
เพราะครูเวรบางเวรเป็นผู้หญิง แต่ก็ผ่านเทอม 1 มาได้ด้วยดี

   
 

6. การประชุมครั้งต่อไป ระวังอย่าให้ตรงกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการคนใหม่  จะเลือกในเดือนมกราคมค่ะ

   
  7. ผู้รวบรวมข้อมูล   นางสุดาวรรณ   สุขศรีใส