ภาคการศึกษาที่ 1/2551

โรงเรียนจินดาบำรุง
 
   
 
   
     
 

เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่     27  มิถุนายน  2551  ถึงวันที่  29  สิงหาคม  2551

 
     
  1. ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ ผลรายงานดังนี้  
  -ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงในโรงเรียน จำนวน 2 ครั้ง  
  -พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย จำนวน 7 ที่ ดังนี้  
 
     
  1.ทางเดินหลังอาคาร 1 เป็นร่วงระบายน้ำ มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกอาจทำให้ขาแพลง  
     
  2.บริเวณล้างจานของนักเรียน พื้นผิวลื่น เสี่ยงต่อการหกล้ม  
     
  3.ห้องน้ำนักเรียนชาย อยู่ในที่ลับตา เสี่ยงต่อการทำอนาจาร  
     
  4.บันไดอาคารเรียนชำรุด เสี่ยงต่อการชนอาจทำให้นักเรียนได้รับบาดเจ็บ  
     
  5.สุนัขเข้ามาในโรงเรียน เสี่ยงต่อการถูกกัด  
     
  6.สภาพการจราจรหน้าโรงเรียนซึ่งมีการตั้งร้านค้าขายอาหารและสิ่งของที่ชิดติดกับถนนมากเกินไป เสี่ยงต่อการถูกรถเฉี่ยวชน  
     
  7.ชุมชนข้างโรงเรียน เป็นชุมชนแออัด มีการมั่วสุมสิ่งเสพติด ทะเลาะวิวาท ชกต่อย เสี่ยงต่อการถูกลูกหลง และนักเรียนอาจจะเอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ และน้ำในลำคลองเน่าเสีย เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อกับนักเรียน  
     
 
  2. ข้อมูลบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน ผลรายงานดังนี้  
  -ได้รับการบาดเจ็บของนักเรียนจำนวน 21 คน
-พบการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน 1 คน จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน 3 ราย
 
     
 

3. การวิเคราะห์

โรงเรียนจินดาบำรุง โดยคณะกรรมโรงเรียนปลอดภัย
ตัวแทนครู นักเรียน และผู้ปกครอง ได้ทำการวิเคราะห์และ
ประเมินสถานการณ์ปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียนและ
ความไม่ปลอดภัยในโรงเรียนของแบบบันทึกทั้ง 2 ส่วน
ด้วยการเดินสำรวจ การสังเกต และการบันทึก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551

 
     
 

ผลสรุปที่เกิดขึ้น

 
     
  1.อุบัติเหตุโดยมากจะเกิดกับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 ในช่วงเวลาพักกลางวันเนื่องจากนักเรียนรับประทานอาหารเสร็จก่อนช่วงชั้น 2 และจะมีพฤติกรรมการเล่นอย่างต่อเนื่องทำให้นักเรียนเล่นโดยไม่ทันระวังตัว  
     
  2.อุบัติเหตุส่วนมากเกินจากพฤติกรรมการเล่นโดยจะมีการหกล้ม วิ่งชนกัน และวิ่งกระแทกสิ่งของ  
     
  3.สถานที่และบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือบนอาคารเรียน บริเวณหน้าห้องเรียน  
     
  4.อุบัติเหตุจากการเดินทางกลับจากโรงเรียนไปบ้าน โดยมากจะเกิดกับนักเรียนช่วงชั้น 2 ผู้ปกครองจะปล่อยให้นักเรียนเดินทางกลับเองเพราะคิดว่าโตแล้ว  
     
  4. มาตรการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคเรียนที่ 2/2551 มาตรการความปลอดภัย 9 ข้อ  
 
     
  1. จัดทำแผนและขั้นตอนเพื่อความปลอดภัยในโรงเรียนอย่างมีระบบและมีคู่มือการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนที่ชัดเจน  
     
  2. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ “มาตรการความปลอดภัยในโรงเรียนจินดาบำรุง” ทั้งในโรงเรียนและชุมชน  
     
  3. ร่วมกับชุมชนและผู้ปกครองจัดตั้งคณะกรรมเพื่อตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยในโรงเรียน โดยมีตัวแทนครูและผู้ปกครองร่วมตรวจสอบปีละ 4 ครั้ง  
     
  4. จัดให้มีการบูรณาการหลักสูตร “จิตสำนึกความปลอดภัย” ในโรงเรียน รวมทั้งกำหนดมาตรการความปลอดภัยที่นักเรียนพึ่งปฏิบัติและกำกับให้มีการปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัย  
     
  5. จัดให้มี “ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก” กำหนดให้มีโครงการป้องกันยาเสพติดและพฤติกรรมข่มขู่รังแกนักเรียน  
     
  6. จัดให้มีระบบความปลอดภัย ด้านอาคารและสถานที่โดยรอบโรงเรียน  
     
  7. จัดให้มีระบบการติดต่อราชการ เข้า – ออก บริเวณโรงเรียนอย่างมีระบบและเคร่งครัด  
     
  8. จัดให้มีการควบคุมการเดินทางไปกลับโรงเรียนอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยจากจราจร  
     
  9. มีการบันทึกข้อมูลอุบัติเหตุในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ  
     
 
     
  5. ปัญหาอุปสรรค

จุดเสี่ยงบางจุดไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ชุมชน
จุดเสี่ยงบางจุดจำเป็นต้องอาศัยงบประมาณในการปรับปรุง
ฉะนั้นจึงต้องรอระยะเวลาจนกว่าจะมีงบประมาณมาสนับสนุน
 
     
  6. ข้อคิดเห็น

อยากจะให้หน่วยงานวิจัยเข้ามาสร้างความตระหนัก
เรื่องความปลอดภัยในโรงเรียนและชุมชนพร้อมกับ
การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน โรงเรียนและหน่วยงานขององค์กรอื่น ๆ
 
     
 

7.  ผู้รวบรวมข้อมูล

                                                             นางสาวรัตนาภรณ์  ไชยณวงศ์