ภาคการศึกษาที่ 1/2551

โรงเรียนแอนเนกซ์ ( กาญจนาภิเษก 2 )
 
   
 
   
     
 

เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่  17  พฤษภาคม  2551 -  30  กันยายน  2551

 
  1.ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ ผลรายงานดังนี้  
     
  1.1 ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงใน – รอบโรงเรียน จำนวน 2 ครั้ง คือ

วันที่ 17 พฤษภาคม 2551 ( เปิดภาคเรียน) และวันที่ 30 กันยายน 2551 ( ก่อนปิดภาคเรียน )
 
     
  1.2  พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง /  ไม่ปลอดภัย  จำนวน 5 ที่  ดังนี้  
 
     
 

-บริเวณสวนสมุนไพร มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นสูงเสียดสีกับสายไฟ ทำให้เกิดประกายไฟ (ไฟช็อต )

วิธีปรับปรุง / แก้ไข คือ ตัดต้นไม้ใต้แนวสายไฟ

 
     
 

-บริเวณสนามเด็กเล่นด้านข้างหอพระ ของเล่นส่วนใหญ่ชำรุดไม่สามารถใช้งานได้

วิธีปรับปรุง / แก้ไข คือ รื้อของเล่นออกและปรับปรุงโดยนำตัวหนอนมาปูจนเติมบริเวณ

 
     
 

-บริเวณห้องสมุดธรรมชาติ บริเวณโคนต้นไม้ มีรากต้นไม้โผล่ขึ้นมา ทำให้พื้นไม่สม่ำเสมอ เด็ก ๆที่วิ่งเล่นมักสะดุดเป็นประจำ

วิธีปรับปรุง / แก้ไข คือ ปลูกไม้ล้มลุกเพื่อปกคลุมโคนต้นไม้

 
     
  -อุปกรณ์ / เครื่องเล่น ม้ากระดก / ยางกันกระแทกที่พื้นหลุด  
     
  -บริเวณสนามเด็กเล่น / พื้นชำรุด / แผ่นปูนหลุดทำให้พื้นไม่สม่ำเสมอ / อาจทำให้ตกหลุมหรือสะดุดหกล้มได้  
     
 
     
 

1.3  แนบสำเนาแบบบันทึกการเดินสำรวจทั้งหมด  จำนวน 0 แผ่น    มาพร้อมรายงานนี้

 
     
 
 
     
  2.ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน ผลรายงานดังนี้  
     
  2.1ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน 34 คน  
     
  2.2พบการบาดเจ็บ จากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน 17 คน จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน 17 คน  
     
  2.3การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้น มีจำนวน 4 คน ที่เกิดเหตุจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้เคยได้ สำรวจไว้  
     
  2.4แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและรอบโรงเรียนทั้งหมด จำนวน 34 ชุด  
     
  3. การวิเคราะห์

คณะกรรมการเฝ้าระวังอุบัติเหตุ มีดังนี้
ด.ญ. อภิชาญา ท้วมโสภา
ด.ญ. กฤตพร จักราบาตร
ด.ญ. พิมพ์ชนก กรุแก้ว
ด.ญ. บุณยนุช นุชไพโรจน์
ด.ญ. ฐิติยาธร ทุมประสิทธิ์
ด.ญ. ณัฐวรรณ สุจริตจันทร์
ด.ญ. ณัฐธิรา ศรีทองแท้
ด.ญ. ธิดาเทพ เทอดเกียรติศักดิ์
ด.ญ. พลอยไพลิน แข็งแรง

 
     
 

ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ปัญหาการบาดเจ็บ
ของนักเรียนและความไม่ปลอดภัย ด้วยการสำรวจ
จุดเสี่ยงและเฝ้าระวังการบาดเจ็บในช่วงพักกลางวัน

ผลที่เกิดขึ้น คือ อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการเล่นที่ไม่ระมัดระวัง

 
     
 
 
     
 

4.  มาตรการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2551

 
     
  - จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการเข้ากับการเรียนทุกกล่มสาระเพื่อลดอุบัติเหตุ เช่น ประกวดเรียงความเรื่องความปลอดภัย ประกวดวาดภาพ เป็นต้น  
     
  - จัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันอุบัติเหตุ เช่น กิจกรรมเสียงตามสาย กิจกรรมอบรมหน้าเสาธง ครูประจำชั้นให้ความรู้ในชั่วโมงโฮมรูม  
     
  - จัดตั้งคณะกรรมการนักเรียนเพื่อสำรวจจุดเสี่ยงและเฝ้าระวังการบาดเจ็บในช่วงพักกลางวัน  
     
  5. ปัญหาอุปสรรค  
     
  ส่วนใหญ่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมักเกิดจากพฤติกรรมการเล่นที่ขาดความระมัดระวัง เช่น วิ่งหกล้ม วิ่งชนกัน
ตกบันได ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ
 
     
 

6.ผู้รวบรวมข้อมูล

 
  นางพูลศรี  จันทร์ผ่อง