ภาคการศึกษาที่ 1/2551

โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์
 
   
   
     
 

เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 51 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2551

 
  1.ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ ผลรายงานดังนี้  
 
     
  - ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงใน – รอบโรงเรียน จำนวน 24 ครั้ง  
  - พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย จำนวน 4 ที่ ดังนี้  
 
  1.ฝาท่อระบายน้ำชำรุด มีความเสี่ยงน้อย  
  2.ฝาท่อบ่อพักน้ำเสียชำรุด มีความเสี่ยงน้อย  
  3.สายไฟฟ้าพาดเหล็ก (เปิดเวลากลางคืนบางโอกาส) มีความเสี่ยงปานกลาง  
  4.ไม้เสียบลูกชิ้นกลางสนาม มีความเสี่ยงปานกลาง  
     
 
 
     
 

2.ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน มีดังนี้

 
 
     
  1.ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน 185 คน  
     
  2.พบการบาดเจ็บ จากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน 49 คน จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน 136 คน  
     
  3.การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้นจำนวน - คน ที่เกิดเหตุจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ ไม่ปลอดภัย ที่ได้เคยสำรวจไว้  
     
  4.แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียนทั้งหมด จำนวน 31 ชุด (2 แผ่น/ราย) มาพร้อมรายงานนี้ ได้จัดส่งมาแล้ว เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551  
     
 
     
 

3.การวิเคราะห์

 
     
 

คณะกรรมการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน
ของโรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ได้วิเคราะห์และ
ประเมินสถานการณ์ปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียน
และความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน

โดยพิจารณาจากการบันทึกข้อมูลของห้องพยาบาล
โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ และการเดินสำรวจ

 
     
  ผลสรุปที่เกิดขึ้น มีดังต่อไปนี้  
     
  1.นักเรียนส่วนใหญ่ 73.51 % เกิดการบาดเจ็บเนื่องจากพลัดตกหกล้มจากการวิ่งเล่นในบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียน  
     
  2.นักเรียนบาดเจ็บเนื่องจากถูกแรงกระทำโดยวัตถุ หล่นใส่ ปีบตำ ทิ่มแทง 26.49 %  
     
  3.นักเรียนเกิดการบาดเจ็บสาหัสในบริเวณโรงเรียน ไม่มี  
     
 
     
 

4.มาตรการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคการศึกษาที่ 2/2551

 
 

ด้านการป้องกันอุบัติเหตุจากอาคารเรียนอาคารประกอบ (นายสังวร สุนทรเกตุและคณะ)

 
     
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากโครงสร้างของอาคารเรียนอาคารประกอบ  
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้ครุภัณฑ์  
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า  
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ  
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากห้องน้ำห้องส้วม  
     
  ด้านการป้องกันอุบัติเหตุจากบริเวณโรงเรียน (นายสฤษดิ์ พานคำและคณะ)  
     
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากรั้วและประตูโรงเรียน  
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากเขตก่อสร้างและกองวัสดุชำรุด  
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากต้นไม้  
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากการใช้สนามเด็กเล่น สนามกีฬาและอุปกรณ์กีฬา  
  -การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุที่เกิดจากทางระบายน้ำเสียที่ทิ้งขยะ  
     
  การส่งเสริมให้ความรู้และการรณรงค์ป้องกัน (นางศรีนวล ผลดีนานาและคณะ)  
     
  -จัดป้ายนิเทศความปลอดภัยในโรงเรียน  
  -การให้ความรู้การปฐมพยาบาลและการป้องกันการบาดเจ็บ  
  -จัดทำสถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงเรียน  
     
 

สารวัตรนักเรียน (นายสมเดช จันทร์พูล และคณะ)

 
     
 
    สารวัตรนักเรียนแต่ละวันดูแลอาคารสถานที่ตามจุดที่ได้รับมอบหมายร่วมกับคณะกรรมการสภานักเรียน
 
     
 

ครูกลุ่มบริหารประจำวัน ดูแลความปลอดภัยและความเรียบร้อยในจุดต่าง ๆ

 
     
 
     
 

5.ปัญหาอุปสรรค

 
  ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการจัดความปลอดภัยของภาคการศึกษาที่ 1/2551  
     
  1.ห้องพยาบาลไม่มีครูหรือเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำตลอดเวลา (ช่วงเวลา 7.30 – 16.00 น.) เพราะจะต้องสอนนักเรียนด้วย  
     
  2.สถานที่ของโรงเรียนเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนนักเรียนคับแคบทำให้นักเรียนวิ่งเล่นชนกันเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ  
     
  3.ในฤดูฝนพื้นระเบียบอาคารบางส่วนแลพื้นที่ทั่วไปเปียกฝนทำให้ลื่นเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ  
     
  4.นักเรียนชอบปีนป่ายสถานที่ต่าง ๆ ทำให้ผลัดตกเกิดอุบัติเหตุบ่อย ๆ  
     
 

(นายสังวร สุนทรเกตุ) ผู้รายงาน