ภาคการศึกษาที่ 1/2551

โรงเรียนกิ่งเพชร สำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551
 
     
  1. ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ ผลรายงานดังนี้  
     
  1.1  ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเลี่ยงใน – รอบบริเวณโรงเรียน  จำนวน   4   ครั้ง  
     
 

1.2  พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย จำนวน  5  ที่ ดังนี้

 
 
     
 

-  บริเวณตู้น้ำเย็น  อาจมีไฟฟ้าดูดได้

 
     
 

-  บริเวณพื้นโรงอาหาร ลื่นนักเรียนอาจหกล้มหัวแตกได้

 
     
  - บริเวณบันได ขอบบันไดชำรุด แตกหัก นักเรียนอาจสะดุดพลัดตกบันไดได้  
     
  - ท่อระบายน้ำ ไม่มีฝาปิด เด็กวิ่งเล่นอาจตกลงไปในท่อระบายได้  
     
  - ระเบียงนอกกันสาด ไม่มีที่กั้นในชั้น ป. 5 – ป. 6 นักเรียนกระโดดลงไปเก็บของที่ตกอาจพลาดตกได้  
     
 
 

1.3 แนบสำเนาแบบบันทึกการเดินสำรวจทั้งหมด  9  แผ่น  มาพร้อมรายงานนี้

 
     
  2.ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน ผลรายงานดังนี้  
 
     
  2.1 ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน  จำนวน  3  คน  
     
  2.2 พบการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยง  จำนวน  2  คน จากพฤติกรรมเสี่ยง จำนวน  1  คน  
     
  2.3 การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้น มีจำนวน - คน ที่เกิดเหตุจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย ได้เคยสำรวจได้  
     
  2.4 แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียนทั้งหมด จำนวน 3 ชุด (2 แผ่น) มาพร้อมรายงานนี้  
     
 
     
 

3.  การวิเคราะห์

 
  คณะกรรมการในการดำเนินงาน  
     
  3.1 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ โดยให้หัวหน้าช่วงชั้นในแต่ละช่วงชั้นเป็นครูที่ปรึกษาในโครงการดูแลความปลอดภัย พร้อมทั้งรับผิดชอการดำเนินงาน  
     
 

3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนจำนวน 25 คน ดำเนินงานดูแลพื้นที่ที่รับผิดชอบ

 
     
  3.3 แบ่งนักเรียนเป็น 7 กลุ่ม ตามพื้นที่รับผิดชอบดังนี้  
 
     
  3.3.1 บริเวณชั้นล่างของตึกพิกุล และโดยรอบตึกพิกุล  
     
  3.3.2 บริเวณ ชั้น 2,3 และ 4 ของตึกพิกุล และบันได  
     
  3.3.3 บริเวณชั้นล่างของตึกราชพฤกษ์ และโดยรอบของตึกราชพฤกษ์  
     
  3.3.4 บริเวณชั้น 2,3 และ 4 ของตึกราชพฤกษ์ และบันได  
     
  3.3.5 บริเวณชั้นล่างของตึกเฟื่องฟ้า และโดยรอบของตึกเฟื่องฟ้า  
     
  3.3.6 บริเวณ ชั้น 2,3 และ 4 ของตึกเฟื่องฟ้าและบันได  
     
 
 

3.4 นักเรียนสำรวจจุดเสี่ยงที่ควรปรับปรุงเดือนละ 1 ครั้ง พร้อมทั้งประชุมร่วมกันกับคณะกรรมการทั้งหมดเพื่อจะสรุปจุดเสี่ยง พร้อมท้งหาวิธีป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น เสนอครูที่ปรึกษาโครงการดูแลความปลอดภัย

 
     
  3.5 ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการนักเรียน 2 เดือน ต่อ 1 ครั้ง เพื่อร่วมปรับปรุงจุดเสี่ยงนั้นเสนอต่อผู้บริหารสถานศึกษา  
     
 

4.  มาตรการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคการศึกษาที่  2/2551

 
     
 

4.1  เชิญผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย มาให้ความรู้พร้อมทั้งฝึกซ้อมการปฏิบัติจริง

 
     
  4.2 เชิญหน่วยงานภายนอก โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ตำรวจสัมพันธ์ชุมชน สภากาชาดไทย ศูนย์อนามัย และ โรงพยาบาลพระมงกุฎ มาให้ความรู้กับนักเรียน  
     
  4.3 ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมพนักงานวิทยุสื่อสารเสมารักษ์ พนักเงานเจ้าหน้าที่ศูนย์เสมารักษ์ และร่วมเป็นเครือข่ายของศูนย์เสมารักษ์ กระทรวงศึกษาธิการ  
     
  4.4 ส่งบุคลากรและนักเรียนเข้าร่วมการอบรมโครงการ “ค้นหาสมรรถนะการคิด” ณ ศูนย์ค้นหาสมรรถนะความคิด สำนักงานอาสากาชาด สำหรับนักเรียน รุ่นที่ 6 ในโครงการโรงเรียนต้นแบบมาตรฐาน ระบบการต้านยาเสพติด (QAD) ร่วมกับสภากาชาดไทย  
     
 

5.  ปัญหาอุปสรรค

 
     
  5.1 ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในระบบการดูแลความปลอดภัยของนักเรียน  
     
  5.2 นักเรียนขาดความตระหนักในการดูแลความปลอดภัยของตนเอง  
     
  นางสาววิภัทรา ป้องคุ้ม
ผู้รวบรวมข้อมูล