ภาคการศึกษาที่ 1/2551

โรงเรียนโสมาภานุสสรณ์
  เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551
   
  1.ข้อมูลแบบันทึกการเดินสำรวจ ผลการรายงานดังนี้
 
   
  1.ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงในรอบโรงเรียนจำนวน 12 ครั้ง
  1.1 พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัยจำนวน 6 ที่ดังนี้
 
   
  1.1.1 อ่างล้างมือบริเวณหน้าห้องอนุบาล มีความเสี่ยง มุมของขอบอ่างนักเรียนวิ่งชนกัน แล้วล้มศรีษะไปโดนมุมอ่าง
   
  1.1.2ประตูห้องเรียนเป็นกระจก มีความเสี่ยง การล้มไปโดนอาจเกิดการแตกได้
   
  1.1.3ห้องน้ำ มีความเสี่ยงเนื่องจากพื้นเปี้ยกทำให้ลื่น
   
  1.1.4รอยต่อทางเดินอาคาร 1 ไป อาคาร 2 มีความเสี่ยง เพราะเป็นทางลาดชัน
   
  1.1.5กระดานไวบอร์ด มีความเสี่ยงจากการปฏิบัติเพราะครูจะให้นักเรียนดูแลการเขียนวันที่นักเรียนจึงต้องใช้เก้าอี้ต่อตัวยืนเขียน
   
  1.1.6ชั้นวางอุปกรณ์หน้าห้องอนุบาล มีความเสี่ยงมีมุมแหลมอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
   
  1.2 แนบสำเนาแบบบันทึกการเดินสำรวจทั้งหมด จำนวน 6แผ่น มาพร้อมรายงานนี้
   
 

2.ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในบริเวณรอบโรงเรียน

  ผลการรายงานเดือนกรกฏาคม
   
  2.1 ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน 5คน
   
  2.2 พบการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน ไม่มี
   
  2.3 จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน ไม่มี
   
  2.4 การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงมีจำนวน 1 คนที่เกิดเหตุจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย ได้เคยสำรวจไว้
   
  2.5 แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียนทั้งหมด จำนวน 5 ชุด ( 2 แผ่น / ราย )มาพร้อมรายงานนี้
   
  ผลการรายงานเดือนสิงหาคม
   
  2.1 ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน 10คน
   
  2.2 พบการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน ไม่มี
   
  2.3 จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน 5คน
   
  2.4 การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงมีจำนวน 5คนที่เกิดเหตุจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย ได้เคยสำรวจไว้
   
  2.5 แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียนทั้งหมด 10 แผ่น
   
  ผลการรายงานเดือนกันยายน
   
  2.1 ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน 4คน
   
  2.2 พบการบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน ไม่มี
   
  2.3 จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน 4คน
   
  2.4 การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงมีจำนวน ไม่มี ที่เกิดเหตุจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย ได้เคยสำรวจไว้
   
  2.5 แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียนทั้งหมด 4 แผ่น
   
  3. การวิเคราะห์
โรงเรียนโสมาภานุสสรณ์ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์
ปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียนและความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน
ของแบบบันทึกทั้ง 2 ส่วน
   
  1.สรุปการเกิดอุบัติเหตุภายในโรงเรียนโดยฝ่ายพยาบาลทุกเดือนและ
นำเสนอผู้บริหารและแจ้งให้ครูเฝ้าระวังในการประชุมครูประจำสัปดาห์
( ทุกวันอังคาร เวลา 17.00 – 18.30 น. ) โดยฝ่ายปกครองได้
สรุปการเกิดอุบัติเหตุที่ต้องเฝ้าระวังเสนอวิธีการ ตามตัวอย่าง
เป็นการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียนทางฝ่ายปกครองจึงหาวิธีการแก้ไข เช่น
   
  1.สรุปการสอบสวนอุบัติเหตุกระจกประตูห้องเรียน ป.6/4
แตกวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 10.50 น
( พักน้อยเช้า) เหตุการณ์เกิดขึ้น 10.50 น.
( พักน้อยเช้า) มีนักเรียนเล่นกันอยู่หลังห้องเรียนหลายกลุ่ม
   
 
   
  กลุ่มที่ 1 เล่นเป่ากระดาษพับเป็นรูปรถเป่าแข่งกัน
   
  กลุ่มที่ 2 เล่นต่อสู้
   
 

กลุ่มที่ 3 เดินดูเพื่อน
โดย ดช.คริสหฤษฎ์ ยืนอยู่หลังห้อง ด.ช. ไชยวิทย์ นักเรียนป. 6 / 6
ได้เดินเข้ามาคุยเรื่องการเล่นฟุตบอลกับ ดช.คริสหฤษฎ์
เมื่อคุยกันเสร็จก็หยอกล้อกันโดยใช้มือผลักกันไปมา

ขณะนั้น ช.คริสหฤษฎ์ ใช้มือผลักหน้าอก ด.ช. ไชยวิทย์
ล้มลงหลังกระแทกประตูหลังห้อง ทำให้กระจกประตูแตกทั้งบาน
เมื่อดช.คริสหฤษฎ์ เห็นจึงรีบดึงมือ ด.ช. ไชยวิทย์
ให้ลุกขึ้นโดยไม่มีอันตรายต่อนักเรียนแต่เป็นเหตุการณ์ที่อันตรายมากที่สุด

  ทางฝ่ายปกครองได้ดำเนินการดังนี้
   
  1.ขึ้นตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุ
  2.แจ้งฝ่ายโสตบันทึกภาพและถ่ายทำ VDO ให้ครู นักเรียนทราบทั้งโรงเรียน
  3.ประสานฝ่ายสถานที่จัดเก็บเศษกระจกและติดตามราคาเพื่อดำเนินการ
  4.แจ้งให้ครูทราบในวันประชุมประจำสัปดาห์
  5. อบรมนักเรียนในเรื่องการเล่นบนอาคารเรียนที่ทำให้เกิดอันตราย
  6.แจ้งให้ครูประจำชั้นอบรมนักเรียนในชั่วโมงโฮมรูม
   
  2.การเดินชนโต๊ะที่ยกเก้าอี้วางไว้บนโต๊ะ
เก้าอี้ร่วงลงมาโดนหางคิ้วนักเรียนที่นั่งรอกับพื้นเพื่อเตรียมตัวกลับบ้าน ( เกิดเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 51 )
   
 
   
 

ข้อเสนอแนะ

   
  1.เก้าอี้เป็นเก้าอี้พลาสติกค่อนข้างเบาเมื่อยกขึ้นวางแล้ว
ถ้าไม่มีสิ่งใดกระแทกและวางอย่างเรียบร้อยก็จะอยู่ได้
แต่ถ้ามีนักเรียนไปโดนหรือได้รับการสะเทือนเพียงนิดเดียวเก้าอี้ก็จะหล่นทันที
   
  2.ครูประจำชั้นต้องสำรวจการยกเก้าอี้ทุกครั้งว่านักเรียนได้ยกเรียบร้อยหรือไม่
   
  3.ถ้าจะให้นักเรียนนั่งรอขอให้นั่งบนเก้าอี้อย่าให้นักเรียน
ยกเก้าอี้ขึ้นไว้บนโต๊ะแล้วนั่งรอกับพื้นหรือให้นักเรียนออกมาตั้งแถวรอหน้าห้องเรียนให้เรียบร้อย
   
   
  3.การใช้ไม้บรรทัดเล่นกันจนเกิดอารมณ์โมโห,ใช้ดินสอขีดใบหน้าและ
นำสมุดมาปาเล่นทำให้เกิดอุบัติเหตุ ( เกิดเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 51 )
   
 
   
 

ข้อเสนอแนะ

   
  1.ครูประจำวิชาที่สอนต้องควบคุมนักเรียนในห้องให้อยู่ในระเบียบวินัย
เมื่อเห็นนักเรียนเล่นครูต้องติดตามและตักเตือนนักเรียนให้หยุดเล่นโดยใส่ใจการกระทำของนักเรียนจนแน่ใจว่าเลิกแล้วต่อกัน
   
  2.การดูแลนักเรียนในห้องครูต้องพยายามไม่ให้นักเรียนลุกจากที่โดยไม่จำเป็น
   
  3.การเล่นในห้อง Play Land และการเดินเกาะเป็นรถไฟ (นักเรียนอนุบาล) เกิดเมื่อวันที่ 19 ก.ย 51
   
   
 
   
 

ข้อเสนอแนะ

   
  1.ครูประจำชั้นต้องดูแลนักเรียนอนุบาลเดินในส่วนที่เกิดอันตรายได้ง่าย
เช่น บันได ห้องน้ำครูจะต้องนำนักเรียนไปห้องน้ำทุกครั้งเพราะครูอนุบาลมี 2 คน และครูอนุบาลต้องชั่งพูด ชั่งสังเกต
   
  2.การเดินเกาะรถไฟจากการวิจัยเป็นการเดินที่สร้างความเครียด
ให้นักเรียนเพราะเดินลำบากการก้าวเท้าเดินไม่พร้อมกันจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ
ขอแนะนำขอให้ฝึกให้นักเรียนเดินเป็นคู่ หรือเดินสำรวม
   
  3.การเล่นที่ห้อง Play Land ครูต้องแบ่งนักเรียนให้เล่น 10 คน ถ้ามากเกินไปครูจะดูแลไม่ทั่งถึง
   
  4.การสอบภาคปฏิบัติเรื่องการเต้นประกอบเพลงนักเรียนเกิดอุบัติเหตุฟันกระแทกหัวเพื่อน
( เกิดเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 51 )
   
   
 
   
 

ข้อเสนอแนะ

   
  1.อบรมแนะนำนักเรียนก่อนการสอบถึงท่าทางการเต็นที่ก่อให้เกิดอันตราย
ขณะเด็กเต็นท่าทางแปลกๆอย่าแซวหรือส่งเสริมชมเชยจะทำให้นักเรียนลำพองใจ ว่าดี ว่าเก่งจะทำให้เด็กยิ่งทำ
   
  2.ดูว่านักเรียนมความสนุกถึงจุดสูงสุดครูจะต้องหยุดกิจกรรมทันทีเพื่อรวบรวมสมาธินักเรียนกลับมา
   
   
   
  4.มาตราการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคเรียนที่ 2 / 2551
  4.1 การจัดครูเวรประจำวันดูแลทางที่เป็นจุดเสี่ยง บริเวบันได ( แนบคำสั่งเสนอการปฏิบัติ )
  เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการดูแลนักเรียน
ขณะขึ้นอาคารเรียนจึงขอมอบหมายให้คุณครูปฏิบัติหน้าที่ดูแลนักเรียนตามจุดบันได ดังนี้
 
   
  เพิ่มเติมการตั้งแถว
   
  1.ทุกช่วงพักก่อนขึ้นอาคารเรียนให้นักเรียนตั้งแถวก่อนขึ้นอาคารเรียน ดังนี้
ป.1 สนามหน้าลานบุญ ป.4 หน้าอนุบาล 3 / 1
ป.2 หน้าบันได 2 (อาคาร 1 ) ป.5 หน้าอนุบาล 3/ 2
ป.3หน้า ห้องสมุด ป.6 หน้สอนุบาล 3 / 3
   
  2.ให้แต่ละสายจัดเวรอบรมดูแลนักเรียนและปล่อยขึ้นอาคารเรียนตามเวลาที่กำหนด
   
  4.2 การจัดครูเวรประจำวันดูแลรอบๆบริเวณโรงเรียน ( แนบคำสั่งเสนอการปฏิบัติ )
  แต่งตั้งคณะครูปฏิบัติหน้าที่เวรประจำวัน เพื่อดูแลความเรียบร้อยในจุดต่างๆดังต่อไปนี้
   
  1.เวรประตูเล็ก
2.เวรป้ายรถเมล์ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน
3.เวรประตูข้างห้องธุรการ
4.รั้วแนวปลอดภัย
5.เวรจราจร
6.เวรรับนักเรียนรถรับ- ส่งโรงเรียนหน้าห้องธุรการ
7.เวรโรงอาหาร
8.เวรลานเทศน์ – ลานธรรม
9.เวรหน้าลานบุญ
10.เวรดูแลนักเรียนบนระเบียง
11.เวรดูแลนักเรียนเก็บภาชนะ ระดับชั้น ป.3 – ป. 6
12.เวรดูแลนักเรียนเก็บภาชนะ ระดับชั้น ป.1 – ป. 2
13.เวรตรวจสอบอาหารเหลือทิ้ง ทุกระดับชั้น อิสลาม
14.เวรอบรมนักเรียนก่อนรับประทานอาหาร + ปล่อยนักเรียนพัก+โรงอาหาร
15. เวรพิธีกรตอนเข้าแถวเคารพธงชาติ + จัดระเบียบแถว
16.เวรดูแลความเรียบร้อยบริเวณหน้าห้องธุรการ
17.เวรดูแลนักเรียนที่มาโรงเรียนไม่ทันเวลาบริเวณ ชั้น 2 อาคาร 1
   
  4.3 เชิญวิทยากรจากศูนย์วิจัยมาให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมความปลอดภัย
และการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ให้กับคุณครู 1 รอบและ นักเรียน 1 รอบ
   
  5.ปัญหาและอุปสรรค
โรงเรียนเอกชนมีปัญหาในการเข้าและลาออกของบุคลากร
ทำให้ต้องมีการอบรมถึงวิธีการหรือการดูแลเด็กในแต่ละจุดอยู่บ่อยๆเพราะครูบางท่านยังขาดประสบการณ์
   
 

6.ข้อคิดเห็นอื่น ๆ
ให้ศูนย์วิจัยจัดการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทุกเดือน หรือภาคเรียนละ 2 ครั้ง

7.ผู้รวบรวมข้อมูล คุณขวัญใจ เกาแกกูล