ภาคการศึกษาที่ 1/2551

 
   
  โรงเรียนอัมพวันศึกษา
  เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
   
  ๑. ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ ผลรายงานดังนี้
   
  ๑.ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงใน – รอบโรงเรียน จำนวน ๒ ครั้ง
 

๒. พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย  จำนวน     ๘   ที่   ดังนี้

 
   
  ๑)ทางขึ้นลงบันได มีความเสี่ยง เพราะ นักเรียนชอบวิ่งเวลา ขึ้น – ลง บันได
   
 
 
 
   
  ๒) บริเวณท่าน้ำหลังโรงเรียน มีความเสี่ยง เพราะ นักเรียนไปรอผู้ปกครอง อาจเล่นผลักกันทำให้เกิดการพลัดตกได้
   
 
 
 
   
  ๓) ปลั๊กไฟในห้องน้ำ มีความเสี่ยง เพราะ นักเรียนมือเปียก อาจเผลอไปปิดสวิตไฟ อาจทำให้ไฟดูดได้
  ๔) ห้องน้ำนักเรียนอนุบาล มีความเสี่ยง เพราะ ความสูงของโถส้วม เวลานักเรียนอนุบาลไปใช้อาจพลาดตกลงมาได้
   
 
 
 
 
   
  ๕) บนระบียงชั้น ๓ ด้านทิศตะวันตก มีความเสี่ยง เพราะ นักเรียนอาจปีนลงไปด้านล่าง
   
 
 
   
  ๖) ประตูใหญ่ทางเข้าโรงเรียน มีความเสี่ยง เพราะ ความยาวของประตู เวลานักเรียนไปวิ่งเล่น แล้วไปกระแทกอาจจะล้มได้
   
 
 
   
  ๗) ทางเดินขึ้นตึกอนุบาล ๓ มีความเสี่ยง เพราะ คานที่รองรับตัวอาคารยื่นออกมามากเวลานักเรียนอนุบาลเดินไม่ระวังศีรษะของนักเรียนจะชนกับคานพอดี
   
  ๘) อุปกรณ์การเรียน มีความเสี่ยง เพราะ โต๊ะ เก้าอี้ อาจทำให้นักเรียนได้รับอันตรายได้จากตะปูทีที่ประกอบมา
   
 
   
   
  ๓. แนบสำเนาแบบบันทึกการเดินสำรวจทั้งหมด จำนวน ๘ แผ่น มาพร้อมรายงานนี้
   
 
   
  ๒. ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน ผลรายงานดังนี้
   
  ๑)ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน ๓ คน
   
  ๒)พบการบาดเจ็บ จากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน ๑ คน จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน ๒ คน
   
  ๓)การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้น มีจำนวน ๑ คน ที่เกิดเหตุจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยงไม่ปลอดภัย ได้เคยสำรวจไว้
   
  ๔)แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียนทั้งหมด จำนวน ๓ ชุดมาพร้อมรายงานนี้
   
   
  ๓. การวิเคราะห์
ได้ทำวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียนและ
ความไม่ปลอดภัยในโรงเรียนของแบบบันทึก ทั้งสองส่วน
ด้วยการสังเกตและจดบันทึก เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
   
 

สรุปผลที่เกิดขึ้น

 
   
  มีการประชุมเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน
เกี่ยวกับปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียน และความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน
จะใช้ข้อมูลจากการเดินสำรวจแล้วเขียนเป็นแบบสรุปเพื่อ
เสนอผู้บริหารให้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป ผลการสำรวจพบว่ามีปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
   
  - การบาดเจ็บของนักเรียนส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียนเองทั้งสิ้น
ในเรื่องนี้จึงดำเนินการโดยครูประจำชั้น / ครูเวรประจำวัน / คณะกรรมการนักเรียน
คอยดูแลเกี่ยวกับการเล่นของนักเรียนให้มากขึ้น เน้นให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น
   
  - การบาดเจ็บในเรื่องของจุดเสี่ยงมีเพียง ๑ ราย
ซึ่งโดนตะปูตำเท้า ได้จัดให้นักการทำการซ่อมแซม
ให้เรียบร้อยแล้วและนำเสนอฝ่ายบริหารในเรื่องการเปลี่ยนโต๊ะ เก้าอี้ ในโอกาสต่อไป
   
  การสำรวจสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน พบว่า มีจุดที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้
ซึ่งผลการประชุมกลุ่มวิเคราะห์ว่า ยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรง แต่น่าจะเป็นจุดเสี่ยงได้
   
   
  ๔.มาตรการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคเรียนที่ ๒ / ๒๕๕๑
-สร้างความตระหนักกับบุคลากร ในเรื่องการช่วยป้องกันการบาดเจ็บ
-จัดเวรทุกชั้น ตรวจสอบการเล่นอย่างเคร่งครัด
-ประชุมผู้ปกครอง
-ดำเนินการในเรื่องขอหมวกนิรภัย
   
  ๕. ปัญหาและอุปสรรค
   
  -ครูมีกิจกรรมและโครงการที่จะต้องปฏิบัตินอกเหนือ
จากการเรียนการสอนหลายโครงการ
จึงทำให้เวลาในการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมทำได้ไม่เต็มที่
   
  -นักเรียนมีภาระงานในหลายกิจกรรมในด้านการเรียนและ
กิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งบางเวลา บางครั้งอาจซ้ำซ้อนกันทำให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เต็มที่
   
  -ขาดการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง
   
  ๖. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ
การดำเนินงานในโครงการเสริมสร้างความปลอดภัย
ปกติโรงเรียนได้ดำเนินการนี้อยู่แล้ว
ซึ่งอยู่ในงานฝ่ายปกครอง ในการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้
ทางโรงเรียนได้ทำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสำรวจสิ่งแวดล้อม
การบันทึกการบาดเจ็บ การวิเคราะห์ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ
เพื่อนำมาแก้ไข ซึ่งมีประโยชน์มาก ทำให้บุคคลากร
มีความกระตือรือร้นในการป้องกันและแก้ไขสิ่งต่าง ๆ
ทางโรงเรียนได้มีพัฒนาอย่างต่อเนื่องในเรื่องการบันทึกการบาดเจ็บ
และการเดินสำรวจ เพื่อนำไปสู่การแก้ไข
เชื่อว่าเมื่อเกิดทักษะในการทำบ่อย ๆ จะทำให้เกิดความชำนาญ และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
   
  ๗. ผู้รวบรวมข้อมูล
นางทิวาวรรณ นาอุดมทรัพย์ ครูประสานงาน