ภาคการศึกษาที่ 1/2552

แบบรายงานเฝ้าระวังโรงเรียนบ้านซับสิงโต
ภาคเรียนที่ 2/2551
   
 

เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2552

1. ข้อมูลแบบบันทึกการสำรวจ

ผลรายงานดังนี่
1. ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงใน – รอบโรงเรียน จำนวน 2 ครั้ง

   
 

2. พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย จำนวน ...10... ที่ ดังนี้

2.1 เรือไวกิ้ง น๊อตที่เสาคายตัวทำให้เสาคายตัวไม่ยึดแน่นกับเหล็กที่อยู่ด้านบน เวลาเล่นอาจทำให้ตัวเรือหลุดจากเสาได้

2.2 ชิงช้า ฐานไม่ยึดติดกับพื้น ถ้าแกว่งแรงๆอาจทำให้ล้มทับได้

2.3 ลูกโลก น๊อตที่ยึดติดกับฐานคายตัว ลูกปืนแตกขาดการคายตัว ถ้าหมุนลูกโลกเล่นแรง อาจทำให้หลุดออกมาได้

2.4 ม้าหมุน ลูกปืนแตกขาดการทรงตัว เอียง อาจเกิดอันตรายได้ในเวลาเล่น

2.5 เครื่องห้อยโหน ห่วงโซ่สำหรับห้อยโหนยึดออก อาจหลุดเวลาไหนก็ได้

2.6 แป้นบาสเกตบอลชำรุด อาจทำให้ตกลงมาใส่ศีรษะของนักเรียนได้

2.7 พื้นสนามบาสเกตบอลแตก เวลาเล่นอาจสะดุดหกล้มได้

2.8 ทางเดินข้างห้องสำนักงาน หน้าต่างติดกับทางเดิน เวลาเปิดหน้าต่างขณะที่มีคนเดินอาจทำให้ชนศีรษะได้

2.9 ทางเดินระหว่างอาคาร 2 และอาคารเฉลิมพระเกียรติ พื้นปูแตกและลาดชันเมื่อฝนตกอาจทำให้ลื่นได้

2.10 ทางเดินระหว่างอาคาร 1 กับห้องสำนักงาน ลาดชันอาจทำให้ลื่นได้

   
 
 
 
 
 
   
 

2. ข้อมูลแบบรายงานบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน
ผลรายงานดังนี้

1. ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน 7 คน

2. พบการบาดเจ็บ จากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน 4 คน จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน 3 คน

3. การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้น มีจำนวน 3 คน ที่เกิดจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ไม่
ปลอดภัยได้เคยสำรวจไว้

4. แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณทั้งหมด จำนวน...1.....ชุด (2แผ่น/ราย) มาพร้อม

   
 

3. การวิเคราะห์

ได้ทำการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียนและความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน โดยมีวิธีดังต่อไปนี้
1. ประชุมคณะกรรมการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน
2. จัดกลุ่มคณะกรรมการเพื่อสำรวจความเสี่ยงในโรงเรียน
3. เดินสำรวจแต่และจุดและจดบันทึกข้อมูลเสี่ยง
4. นำจุดเสี่ยงได้มารวบรวมและสรุปรวมกัน
5. แก้ไขจุดเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายมากที่สุดตามลำดับ

ผู้สนับสนุน สถานีตำรวจวังสมบูรณ์ช่วยฝึกอบรมลูกเสือจราจร
3. วัน เดือน ปี 16 พฤษภาคม 2551–31 มีนาคม 2552
โครงการสำรวจจุดเสี่ยง ได้จัดตั้งคณะกรรมการและสำรวจจุดเสี่ยงปีการศึกษาละ 2 ครั้ง

   
  ผลสรุป แจ้งจุดเสี่ยงทั้งหมดให้นักเรียนทราบ นักเรียนมีความระมัดระวังในการเล่นและหลีกเลี่ยง
บริเวณที่เป็นจุดเสี่ยง ทำให้การบาดเจ็บบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงลดลง
ความยั่งยืน เป็นโครงการที่โรงเรียนจะทำต่อในปีการศึกษา 2552 ต่อไป
ผู้สนับสนุน ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย โรงพยาบาลรามาธิปดี
4. วัน เดือน ปี 16 พฤษภาคม 2551 – 31มีนาคม
โครงการบันทึกการบาดเจ็บ นักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บ นักเรียนที่ได้รับบาดเจ็บขณะเดินทางมาและกลับ
จากโรงเรียนและขณะอยู่ที่โรงเรียนเมื่อได้รับบาดเจ็บให้มาบันทึกการบาดเจ็บกับครูประจำชั้นหรือครู
ประสานงานหรือห้องพยาบาลให้เป็นปัจจุบัน
ผลสรุป นักเรียนมาบันทึกบาดเจ็บกันทุกครั้งและเป็นปัจจุบัน
ความยั่งยืน เป็นโครงการที่โรงเรียนจะทำต่อในปีการศึกษา 2552 ต่อไป
ผู้สนับสนุน ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย โรงพยาบาลรามาธิบดี
   
 

6. ปัญหาอุปสรรค

1. ครูเวรบางเวรและลูกเสือจราจรลืมมาปฏิบัติหน้าที่
2. เครื่องเล่นชำรุด เมื่อติดป้ายเตือนไว้นักเรียนชอบดึงออกบ่อยมาก
3. หมวกนิรภัยไม่เพียงพอกับนักเรียนและหมวกส่วนใหญ่ชำรุด

7. ข้อคิดเห็น
อยากให้ทางวิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยจัดทำวุฒิบัตรให้ผู้ประสานคนทุกคนปีละหนึ่งครั้ง เพื่อนำไปใช้ในการทำผลงานทางวิชาการ

8. ผู้รวบรวมข้อมูล
- นางลัดดาวัลย์ ภูศรี โทร. 081 – 8481718
- นางสาวขวัญใจ ป้อมพระเดช โทร. 089 – 0954442

   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
 
 

ภาคการศึกษาที่ 1/2552

 

รายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในโรงเรียน