ภาคการศึกษาที่ 1/2552

แบบรายงานเฝ้าระวังโรงเรียนอัมพวันศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1/2552
   
  เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒
   
 

ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ
ผลรายงานดังนี้

๑.ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงใน –รอบโรงเรียน จำนวน ๑ ครั้ง

๒.พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย จำนวน๑ จุด ดังนี้
๑.อุปกรณ์การเรียน มีความเสี่ยง เพราะ โต๊ะ เก้าอี้
อาจทำให้นักเรียนได้รับอันตรายได้จากตะปูทีที่ประกอบมา

   
 

๒.ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในและบริเวณรอบโรงเรียน
ผลรายงานดังนี้

๑.ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน ๗ คน

๒.พบการบาดเจ็บ จากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจำนวน ๖ คน
จากพฤติกรรมเสี่ยงจำนวน ๑ คน

๓.การบาดเจ็บจากสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้น มีจำนวน ๖ คน
ที่เกิดเหตุจากสถานที่สิ่งแวดล้อมเสี่ยง / ไม่ปลอดภัย ได้เคยสำรวจไว้

๔.แนบสำเนาแบบบันทึกการบาดเจ็บในและ
บริเวณรอบโรงเรียนทั้งหมด จำนวน ๗ ชุดมาพร้อมรายงานนี้

   
  ๓.การวิเคราะห์
โรงเรียน โดยคณะกรรมการความปลอดภัย

๑.นายอักษรศาสตร์ ฝ่ายกลาง ประธานกรรมการ
๒.นายวรพงศ์ อุณหะรัตน์ รองประธาน
๓.นางทิวาวรรณ นาอุดมทรัพย์ ผู้ประสานงาน
๔.นางบังอรสินี ไชยพันธ์ กรรมการ
๕.นางสาวอรนุช สมสุวรรณ กรรมการ
๖.นางสาวกนกกร บุญรอด กรรมการ
๗.นายมงคล ปะสะจะ กรรมการ
๘.นายวัยวุฒิ ไกรยะอุด กรรมการและเลขานุการ
๑๐.นางสมจิตร สัมภาลี กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
๑๑.เด็กหญิงวิมลวรรณ วงศ์ศิลป์ ประธานนักเรียน
๑๒.เด็กหญิงณัฐณิชา แซ่จิว รองประธานนักเรียน
๑๓.เด็กหญิงจิราพร ชื่นชม กรรมการ
๑๔.เด็กหญิงพรรณราย ตรีชัยวัฒนา กรรมการ
๑๕.เด็กหญิงอรวรรณ วิชัย กรรมการ
๑๖.เด็กชายอนุชิต จิตหาร อนุกรรมการ ป. ๕/๑
๑๗.เด็กหญิงอรชร ประเสริฐศรี อนุกรรมการ ป. ๕/๒
๑๘.เด็กหญิงลฎาภา สอนสูญ อนุกรรมการ ป. ๕/๓
   
 

ได้ทำวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียน
และความไม่ปลอดภัยในโรงเรียนของแบบบันทึก ทั้งสองส่วน
ด้วยการสังเกตและจดบันทึก เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

สรุปผลที่เกิดขึ้น
มีการประชุมเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน
เกี่ยวกับปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียน และความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน
จะใช้ข้อมูลจากการเดินสำรวจแล้วเขียนเป็นแบบสรุปเพื่อเสนอผู้บริหาร
ให้ปรับปรุงแก้ไขต่อไป ผลการสำรวจพบว่ามีปัญหาต่าง ๆ ดังนี้

- การบาดเจ็บของนักเรียนส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง
ของนักเรียนเองทั้งสิ้น ในเรื่องนี้จึงดำเนินการโดยครูประจำชั้น
/ ครูเวรประจำวัน / คณะกรรมการนักเรียน
คอยดูแลเกี่ยวกับการเล่นของนักเรียนให้มากขึ้น
เน้นให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น

- การบาดเจ็บในเรื่องของจุดเสี่ยงมีเพียง ๖ ราย ซึ่ง
ได้จัดให้นักเรียนที่ทำหน้าที่เป็นเวรดูแลให้เรียบร้อยแล้วและ
นำเสนอฝ่ายบริหารในเรื่องการดูแลความเรียบร้อย ในโอกาสต่อไป

- การบาดเจ็บในเรื่องของพฤติกรรมเสี่ยงมี ๑ ราย
ซึ่งโดนมีดบาดได้ประชุมคณะครูที่สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้
ให้ดูแลความเป็นระเบียบในการเรียนของนักเรียนและกำชับเกี่ยวกับ
การใช้อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับนักเรียนมากที่สุด

การสำรวจสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน พบว่า
มีจุดที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้
ซึ่งผลการประชุมกลุ่มวิเคราะห์ว่า
ยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรง แต่น่าจะเป็นจุดเสี่ยงได้

   
  ๔.มาตรการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคเรียนที่ ๒ / ๒๕๕๒

- สร้างความตระหนักกับบุคลากร ในเรื่องการช่วยป้องกันการบาดเจ็บ
- จัดเวรทุกชั้น ตรวจสอบการเล่นอย่างเคร่งครัด
- ประชุมผู้ปกครอง
   
 

๖. ปัญหาและอุปสรรค

- ครูมีกิจกรรมและโครงการที่จะต้องปฏิบัตินอกเหนือ
จากการเรียนการสอนหลายโครงการ
จึงทำให้เวลาในการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมทำได้ไม่เต็มที่

- นักเรียนมีภาระงานในหลายกิจกรรมในด้านการเรียนและกิจกรรมอื่น ๆ
ซึ่งบางเวลา บางครั้งอาจซ้ำซ้อนกันทำให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เต็มที่

- ขาดการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง

๗. ข้อคิดเห็นอื่น ๆ
การดำเนินงานในโครงการเสริมสร้างความปลอดภัย
ปกติโรงเรียนได้ดำเนินการนี้อยู่แล้ว ซึ่งอยู่ในงานฝ่ายปกครอง
ในการเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ทางโรงเรียนได้ทำเพิ่มเติมเกี่ยว
กับการสำรวจสิ่งแวดล้อม การบันทึกการบาดเจ็บ
การวิเคราะห์ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุเพื่อนำมาแก้ไข

ซึ่งมีประโยชน์มาก ทำให้บุคคลากรมีความกระตือรือร้น
ในการป้องกันและแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ทางโรงเรียนได้มีพัฒนา
อย่างต่อเนื่องในเรื่องการบันทึกการบาดเจ็บ และการเดินสำรวจ
เพื่อนำไปสู่การแก้ไข เชื่อว่าเมื่อเกิดทักษะในการทำบ่อย ๆ
จะทำให้เกิดความชำนาญ และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

๘. ผู้รวบรวมข้อมูล

นางทิวาวรรณ นาอุดมทรัพย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ / ผู้ประสานงาน

   
 
 
 
 
 
 
 
   
 
 

ภาคการศึกษาที่ 1/2552

 

รายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในโรงเรียน