ภาคการศึกษาที่ 1/2552

แบบรายงานเฝ้าระวังโรงเรียนชุมชนวัดบ้านหนองกง(ประจวบไตรมิตรวิทยา)
ภาคการศึกษาที่ 1/2552
   
 

เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2552

   
 

1.ข้อมูลแบบบันทึกการเดินสำรวจ

ผลรายงานดังนี้

1.ได้เดินสำรวจสิ่งแวดล้อมเสี่ยงในโรงเรียน จำนวน 3 ครั้ง

2.พบสิ่งแวดล้อมเสี่ยง/ไม่ปลอดภัย จำนวน 2 ที่ ดังนี้

1.อัฒจันทร์ มีความเสี่ยง เพราะมีที่นั่งหลายชั้น ทำให้อัฒจันทร์สูง
เด็กๆ ชอบไปนั่งเล่นหรือหยอกล้อกัน และบางครั้งเด็กๆ ก็กระโดดเล่น
ทำให้เกิดอันตรายได้

2.บริเวณรอบๆ เตาเผาขยะ และทางเดินไปเตาเผาขยะ
มีความเสี่ยงเพราะช่วงฤดูฝนมีน้ำขังทางเดิน และบริเวณรอบๆ
เตาเผาขยะมีเศษขยะและอาจมีสัตว์ที่มีพิษอาศัยอยู่
ทำให้เด็กที่เดินไปทิ้งขยะมองไม่เห็นเศษขยะบางอย่าง
ที่เป็นอันตรายและมองไม่เห็นสัตว์ที่มีพิษ

   
 

2. ข้อมูลแบบบันทึกการบาดเจ็บในบริเวณโรงเรียน
ผลรายงาน ดังนี้
1.ได้บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน จำนวน 1 คน
2.พบการบาดเจ็บ จากพฤติกรรมเสี่ยงและสิ่งแวดล้อมเสี่ยง จำนวน 1 คน
3. การวิเคราะห์

คณะครูและคณะกรรมการความปลอดภัย
ได้ดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาการบาดเจ็บของนักเรียนและ
ความไม่ปลอดภัยในโรงเรียน จากบันทึกการบาดเจ็บของนักเรียนพบว่า
สาเหตุเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงและสิ่งแวดล้อมเสี่ยง

ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงเกิดจากเด็กขาดความระมัดระวังในการทำงานหรือการเล่น
ส่วนสิ่งแวดล้อมเสี่ยงนั้น เกิดจากตัวสิ่งแวดล้อมที่ถือว่าเป็นอันตรายในตัวเอง
การที่เด็กเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมเสี่ยงจึงควรระมัดระวังเป็นอย่างมาก

ดังนั้น ก่อนการทำงานครูควรแนะนำตักเตือนควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
และครูประจำชั้นหรือครูเวรต้องให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยและเน้นย้ำ
จุดเสี่ยงให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นประจำ

   
 

4. มาตรการหรือแผนการจัดความปลอดภัยของภาคเรียนที่ 2/2552

1. คณะครูและคณะกรรมการความปลอดภัย
ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในกิจกรรมหน้าเสาธง
เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความปลอดภัย อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

2. จัดประชุมคณะครูเพื่อพูดคุยถึงปัญหาความปลอดภัย
และครูประจำชั้นรายงานความปลอดภัยแก่คณะกรรมการความปลอดภัยทราบทุกเดือน

3. มีการสอนเรื่องความปลอดภัยในห้องเรียนทุกระดับชั้น

2. สำรวจจุดเสี่ยง และประกาศให้นักเรียนทราบเพื่อจะไม่เข้าใกล้บริเวณนั้น
หรือหากต้องเข้าใกล้ก็จะได้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น

3. กิจกรรมศาลาป้ายนิเทศ เพื่อความปลอดภัย ซึ่งเป็นผลงานของนักเรียน

4. กิจกรรมป้ายจราจรในโรงเรียน

5. กิจกรรมการอบรม

6. ครูประจำชั้นตรวจสุขภาพประจำเดือน

7. คัดเลือกเด็กดีประจำเดือน

8.เฝ้าระวังโดยการเดินสำรวจจุดเสี่ยง

9.แต่งตั้งคณะกรรมการสังเกตพฤติกรรมการเล่นของนักเรียน

 

-ปัญหาอุปสรรค
พฤติกรรมการเล่นของเด็กเล่นไม่ระมัดระวัง หรือเล่นบริเวณสิ่งแวดล้อมเสี่ยง

-ข้อคิดเห็นอื่น
ทางศูนย์วิจัยฯ ควรจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มความปลอดภัย
เป็นเอกสารมาที่โรงเรียนเป็นระยะๆ หรือแจ้งมาทางทางอีเมล์

-ผู้รวบรวมข้อมูล
นางสาวอารี แผ้วพลสง ตำแหน่ง ครูชำนาญการ

   
 
  >โครงการระวังไว้...อย่าประมาท
  >โครงการรักลูกให้เข้าใจลูก....รักพ่อ - รักแม่ให้เข้าใจตนเอง
  >โครงการเรียนรู้ป้ายจราจร
   
   
 
 

ภาคการศึกษาที่ 1/2552

 

รายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในโรงเรียน