> โรงเรียนประชานิเวศน์
   
 

โครงการ-การหาสาเหตุของการบาดเจ็บในโรงเรียน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย ให้แก่นักเรียน

2. เพื่อร่วมรณรงค์ในการสร้างเสริมความปลอดภัย
อันจะเกิดกับชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและสังคม

3. เพื่อสร้างโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย
ให้กับชุมชนและประเทศชาติ

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียน โรงเรียนประชานิเวศน์
ทั้งหมดจำนวน 1,876 คน
ช่วงวัน / ระยะเวลาดำเนินดำเนินการ

ตลอดปีการศึกษา
ภาคเรียนที่1
16 พฤษภาคม ถึง 30 กันยายน
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 07.00 น.- 17.30 น.

ภาคเรียนที่ 2
1 พฤศจิกายน ถึง 31 มีนาคม
วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 07.00 น.-17.30 น

   
 

สถานที่ดำเนินการ

ภายในบริเวณโรงเรียนประชานิเวศน์
และบนอาคารเรียนทุกอาคาร

วิธีดำเนินงาน

1. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

2. ประชุม วางแผน ชี้แจงทำความเข้าใจ
และมอบหมายงาน ให้ผู้รับผิดชอบ

3. บันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน

4. วิเคราะห์หาสาเหตุของการบาดเจ็บ
ชนิดของการบาดเจ็บ
ตำแหน่งของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ
ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ
บริเวณ/สถานที่ทุกวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์

5. ประเมินผลการดำเนินงาน

6. สรุปผลการดำเนินงาน

7. รายงานสรุปผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารสถานศึกษา

งบประมาณ
จากเงินบำรุงการศึกษาของโรงเรียน

   
 
   
 

สรุปผลที่เกิดขึ้น
1. จากสถิติการบันทึกการบาดเจ็บ
ของนักเรียนทำให้ทราบถึงสาเหตุ
ของการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียน

ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการเล่นของนักเรียนเอง
ซึ่งจะเกิดขึ้นในเวลาพักกลางวันและหลังเลิกเรียน

2. สถานที่มักจะเกิดอุบัติเหตุ
บริเวณจุดเสี่ยงภายในโรงเรียน คือ สนามเด็กเล่น ระเบียง

3. ตำแหน่งของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ คือ หัวเข่า แขน ขา และมือ

ประเมินความสำเร็จ
จากการวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ทำให้ทราบถึงสาเหตุและสถานที่เกิด
อุบัติเหตุของนักเรียนเป็นข้อมูลพื้นฐาน
ในการกำหนดแนวทางและมาตรการ
ในการป้องกันอุบัติเหตุได้ถูกต้องและ
ป้องกันอุบัติเหตุได้ถูกที่ถูกเวลา
ในปีการศึกษาต่อไป เพื่อสร้างเสริม
ความปลอดภัยอันจะเกิดกับชีวิต
และทรัพย์สินของนักเรียน ทางราชการและสังคม

บทเรียนที่ได้รับ

1. สถานที่มักจะเกิดอุบัติเหตุ
และบริเวณจุดเสี่ยงภายในโรงเรียน เช่น
สนามเด็กเล่น ควรบำรุงรักษา ซ่อมแซม
ปรับปรุง และพัฒนาให้มีความพร้อมและปลอดภัยต่อการใช้งาน

2. สภาพทั่วไปของโรงเรียน
อาคารสถานที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้พร้อมใช้งาน
มีความปลอดภัยอยู่เสมอ ยืดอายุการใช้งานทำให้เกิด
ความคุ้มค่าลดค่าใช้จ่ายประหยัดงบประมาณของทางราชการ

3. ผู้ปกครองมีความมั่นใจ
และเชื่อมั่นต่อโรงเรียนและบุคลากร
ไม่วิตกและหวาดกลัวต่อการเกิดอุบัติเหตุ
ของนักเรียน ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

ความต่อเนื่อง
จากการบันทึกการบาดเจ็บของนักเรียน
และนำผลมาวิเคราะห์หาสาเหตุของการบาดเจ็บของนักเรียน
เราจะเห็นได้ว่าการเกิดอุบัติเหตุของนักเรียนมาจากสาเหตุ 2 ประการคือ

1. การเล่นที่ไม่เหมาะสม เช่น
นักเรียนใช้อุปกรณ์การเล่นผิดประเภท
ผิดวิธี เล่นผิดสถานที่

2. สภาพของสถานที่ และสื่ออุปกรณ์ต่างๆ
ไม่สมบูรณ์ ไม่มีความพร้อมในการใช้งาน
ขาดการบำรุงดูแลรักษา

จากสาเหตุสองประการนี้นำไปสู่การ
กำหนดมาตรการ วิธีการป้องกันและ
แก้ปัญหาได้ตรงตามแห่งเหตุและผล ดังนี้

สาเหตุที่มาจากการเล่นที่ไม่เหมาะสม
ได้กำหนดแนวทางป้องกันอุบัติเหตุ
โดยการสร้างความตระหนักและให้ความรู้
เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องเล่นที่ถูกต้อง
อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการเล่นแต่ละประเภท
สถานที่ที่ใช้เล่นอย่างถูกต้อง
จัดครูเวรคอยกำกับดูแลตามจุดเสี่ยงและ
บริเวณที่มีนักเรียนอยู่ นอกจากนี้แล้วยัง
ส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดกิจกรรมหมอน้อยอาสา
(ครูไม่อยู่ หนูทำได้)

สาเหตุที่มาจากสภาพของสถานที่
ได้กำหนดแนวทางป้องกันอุบัติเหตุ
โดยการให้มีการเขียนป้ายแสดงชื่อเครื่องเล่น
วิธีการใช้กำหนดคณะกรรมการรับผิดชอบการดูแลรักษา
พร้อมทั้งมีตารางแสดงถึงการบำรุงรักษาที่เป็นปัจจุบัน
มีการกำหนดระยะเวลาในการสำรวจตรวจสอบสภาพความ
สมบูรณ์ของอาคารสถานที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน
ส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดกิจกรรมการสำรวจจุดเสี่ยงตามมา

นอกจากนี้แล้วข้อมูลที่ได้ยังเป็นประโยชน์ต่อ
ผู้บริหารในการวางแผนการบริหารสถานศึกษา
ให้สอดคล้องรับกับการประกันคุณภาพมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษาที่ ส.ม.ศ.
ได้กำหนดมาตรฐานสถานศึกษาไว้ข้อหนึ่ง
ที่สถานศึกษาจะต้องมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ทำให้กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนและ
ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา

การประยุกต์ใช้
การบันทึกข้อมูลสถิติสามารถนำไปใช้ได้กับทุกกิจกรรม
เพื่อใช้เป็นข้อมูลศึกษาถึงประวัติที่ผ่านมา
ว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ่อยก็คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นอีก
การจดบันทึกจึงเป็นการเตือนความจำ
เป็นหลักฐานที่แสดงเป็นลายลักษณ์อักษร
มีความน่าเชื่อถือเป็นรูปธรรม
อีกทั้งยังนำมาเป็นการตรวจสอบและติดตาม
การดำเนินงานในทุกกิจกรรม ทุกองค์กร ว่าสิงใด
ได้ดำเนินการไปแล้ว สิ่งใดที่จะต้องดำเนินการต่อไป
ในอาชีพครูก็ใช้การบันทึกหลังสอน บันทึกการประชุม
แพทย์ก็บันทึกประวัติคนไข้

ทุกๆ อาชีพล้วนต้องเกี่ยวข้องกับการบันทึกเก็บข้อมูลทั้งสิ้น
เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกันหรือหาแนวทางการส่งเสริมในการทำงานครั้งต่อไป