- การพัฒนาการมีส่วนร่วมเยาวชนแขวงทุ่งพญาไท  
     
 

เด็กและเยาวชนจากชุมชนแขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานครทั้ง 7 แห่ง
ประกอบด้วยชุมชนซอยสวนเงิน ชุมชนซอยสุเหร่า ชุมชนมั่นสิน ชุมชนแดงบุหงา
ชุมชนหลังกรมทางหลวง ชุมชนโค้งรถไฟยมราช และชุมชนกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
ได้มีบทบาทในการสร้างสรรค์ความปลอดภัย ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมจากผู้ใหญ่ใจดีในชุมชน
ภายใต้แผนงาน “การพัฒนาการมีส่วนร่วมเยาวชนแขวงทุ่งพญาไท” ได้ผลดังนี้

 
 

ระยะที่ 1 ต.ค. 51
โครงการ “เวทีเสวนาชุมชนแขวงทุ่งมุ่งความปลอดภัย”

เป้าหมาย
1.สร้างความเข้าใจร่วมกัน
2.เก็บข้อมูลความเสี่ยง และความต้องการของเยาวชน
3.เฟ้นหาแกนนำเบื้องต้น

ผลที่ได้
1.ดำเนินการ วันที่ 12 ตุลาคม 2551
2.ได้ข้อมูลความเสี่ยงในชุมชน และรูปแบบค่ายที่เยาวชนพึงประสงค์

 

 

ระยะที่ 2 พ.ย.51
โครงการ “ค่ายเยาวชนแขวงทุ่งมุ่งความปลอดภัย”

เป้าหมาย

1.สร้างความรู้ ความตระหนัก
2.จัดตั้งกลุ่มชมรมเด็กไทยปลอดภัยใน 9 ชุมชน
3.กิจกรรมที่แต่ละชมรมจะกลับไปดำเนินการ ภายใต้งบประมาณชมรมละ 4,000 บาท(โดยใช้ข้อมูลจากระยะที่ 1 ประกอบการวางแผน)
4.กิจกรรมเยาวชนส่งผลบวกต่องานชุมชนปลอดภัยเชิงบูรณาการ

ผลที่ได้

1.ดำเนินการ วันที่ 8 – 9 พฤศจิกายน 2551
2.จำนวนผู้เข้าร่วม 104 คน (ขาด 2 ชุมชนเข้าร่วม คือ ชุมชนสระแก้ว และชุมชนหน้าวัดมะกอก)
3.เกิดแผนงาน 7 โครงการ จาก 7 ชุมชน ที่ต้องดำเนินการได้ตั้งแต่ 17 พ.ย. – 30 ธ.ค.51
4.ผลการประเมินความคิดเห็น

 

   

ระยะที่ 3 ธ.ค.51-ม.ค.52
โครงการ “เราคิด เราทำ เพื่อนเราปลอดภัย”

เป้าหมาย
1.สนับสนุนและพัฒนาโครงการด้านความปลอดภัยของเยาวชนทั้ง 7 ชุมชนสู่การลงมือปฏิบัติจริง
2.สร้างต้นแบบการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนด้านความปลอดภัย
3.พัฒนาศักยภาพความสามารถของแกนนำชมรมเด็กไทยปลอดภัยในการพัฒนารุ่นน้องที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อไป
โดยวิธีการสร้างแรงจูงใจจากผลสัมฤทธิ์ของงาน
4.การรวมตัวของเยาวชนในรูปแบบ : ชมรมเด็กไทยปลอดภัย (ประจำชุมชนนั้นๆ)

ผลที่ได้ เกิด 6 โครงการ ใน 7 ชุมชน
1.เด็กไทยปลอดภัย ห่างไกลยาเสพติด (หลังกรมทางหลวง + สวนเงิน)
2.รู้ระวังอันตรายใส่ใจความปลอดภัยในบ้าน (มั่นสิน)
3.ป้ายเตือนใจปลอดภัยสำหรับเด็ก (กองพล1ฯ)
4.เด็กเพชร 7 ต้านภัยยาเสพติด (เพชรบุรี7)
5.ป้ายเตือน ระวังรถไฟก่อนข้าม (แดงบุหงา)
6.โครงการความปลอดภัยในชุมชน (โค้งรถไฟยมราช)


 

ระยะที่ 3 ธ.ค.51-ม.ค.52
จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์

เป้าหมาย

1.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 2.สรุปงาน
3.นำผลลัพธ์ที่ได้เป็นต้นแบบขยายผลในต่างพื้นที่ต่อไป
4.เลือกตั้งแกนนำส่วนกลาง : แกนนำชมรมเด็กไทยปลอดภัยแขวงทุ่งพญาไท

ผลที่ได้

1.ดำเนินการ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552
2.รายงานจากการถอดบทเรียน 7 ชมรม
3.คณะกรรมการแกนนำชมรมเด็กไทยปลอดภัยแขวงทุ่งพญาไท 13 คน และทีมที่ปรึกษา

   
 

ระยะขยายผล
การประชุมคณะกรรมการแกนนำชมรมเด็กไทยปลอดภัยแขวงทุ่งพญาไท ครั้งที่ 1

ผลที่ได้

1.โครงสร้างคณะกรรมการแกนนำชมรมเด็กไทยปลอดภัยแขวงทุ่งพญาไทที่พร้อมปฏิบัติงาน
2.ความชัดเจนของแผนงานโครงการ “ปิดเทอมใหญ่..อย่าปล่อยให้อันตรายลอยนวล”
3.แผนงานเดือนเมษายน 2552 – มีนาคม 2553