>>รณรงค์ไม่ใช้เด็กซื้อเหล้าและไม่ขายเหล้าให้เด็ก
 
ด้วยวิธีขอความร่วมมือร้านค้าในชุมชนไม่ขายเหล้าให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
โดยเชื่อมโยงกฎหมาย(กฎหมายห้ามจำหน่ายสุราแก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี พ.ศ.2546)
ตำรวจ(ตัวแทนผู้ใช้กฎหมาย) และสื่อ(แผ่นพับ ธงรณรงค์ ละครหุ่นมือ วิทยุ) เป็นเครื่องมือสำคัญ
 
 
>>การสำรวจความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม
 
ตั้งกลุ่มสำรวจจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแล้วจดบันทึก
เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวาดแผนที่จุดเสี่ยง ระดมความคิด
ปรับปรุงแก้ไขในกรณีที่สามารถทำได้ เช่น
ถางหญ้ารกข้างทาง ถ้าสิ่งไหนเหนือบ่ากว่าแรงก็จะประสานผู้ใหญ่ดำเนินการต่อ
 
 
>>เพื่อนเตือนเพื่อน .. เรื่องการใส่หมวก
 
เมื่อพบเห็นเด็กหรือวัยรุ่นขับขี่รถจักรยานยนต์ผาดโผน
ก็จะใช้วิธีเตือนและบอกถึงอันตรายแล้วแจ้งผู้ใหญ่ในชุมชนทราบเพื่อหาวิธีแก้ปัญหา
มีบทบาทในการตั้งจุดตรวจการสวมหมวกนิรภัยในช่วงเทศกาลร่วมกับตำรวจ
เข้าร่วมกับหน่วยกู้ภัยชุมชนเพื่อตรวจตราการขับขี่รถจักรยานยนต์ผาดโผนในชุมชน
 
 
>>การเก็บข้อมูลการบาดเจ็บและพฤติกรรมการเลี้ยงดูในเด็กอายุ 0-14 ปี
 

ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว บุรีรัมย์ กรุงเทพมหานคร
การเก็บข้อมูลนั้นเพื่อให้นักวิจัยนำไปสรุปผล และ
เสริมประสบการณ์เยาวชนในการซักถามข้อมูลและ
รับรู้สภาพความเป็นอยู่ของเด็กๆ ในพื้นที่ต่างๆ

ผลที่เกิดขึ้นคือชาวบ้านให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
ทำให้ได้ข้อมูลรวดเร็วและค่อนข้างสมบูรณ์ ส่วนปัญหาอุปสรรคที่พบคือ
เมื่อมีการลอกข้อมูลซ้ำ บางคนอาจลืมจดข้อมูลทำให้มีข้อผิดพลาดในการลอกข้อมูลใหม่
การใช้คำถามไม่เข้าใจอาจทำให้คนฟังเข้าใจคำถามเราผิดสภาพดินฟ้าอากาศความไม่พร้อมของเอกสาร