>>โครงการชุมชนปลอดภัยสู่บ้านเกิด(สำนึกรักบ้านเกิด)  
     
 

โครงการชุมชนปลอดภัยเกิดขึ้นใน 9 จังหวัด ได้แก่
กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา
สระแก้ว บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ พิจิตร และพิษณุโลก
และในแต่ละชุมชนก็มีชมรมเด็กไทยปลอดภัยเป็นแกนนำ
ในการสร้างเสริมความปลอดภัยสำหรับเด็ก

แต่ชมรมเด็กไทยปลอดภัยยังไม่เป็นพื้นที่รู้จักของประชาชน
ในพื้นที่เท่าไรนัก อีกทั้งแกนนำที่เป็นสมาชิกชมรมเด็กไทยปลอดภัย
ก็เติบโต และออกไปศึกษาต่อนอกพื้นที่
ทำให้ผู้ที่จะสานต่องานชมรมเด็กไทยปลอดภัยลดน้อยลงไปทุกที

 
     
 
 
 
 
   
แกนนำชมรมเด็กไทยปลอดภัยจึงได้จัด “โครงการชุมชนปลอดภัยสู่บ้านเกิด”
เพื่อให้แกนนำในแต่ละพื้นที่ได้ลงไปสร้างความตื่นตัวในเรื่องของความปลอดภัย
สร้างขวัญกำลังให้กับแกนนำเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่
เกิดชมรมเด็กไทยปลอดภัยในพื้นที่ที่เข้มแข็ง และมีผลงานต่อเนื่องต่อไป
   

สายที่ 1 จังหวัดบุรีรัมย์ และศรีสะเกษ
วันที่ 14 ตุลาคม 2549 ได้ออกเดินจากที่พัก(ศาลายา)ไปเตรียมงานที่บุรีรัมย์

วันที่ 15 ตุลาคม 2549 ในวันนี้เป็นการจัดกิจกรรมที่ชุมชนหนองกง จังหวัดบุรีรัมย์
โดยในช่วงเช้าเราจะให้น้องเข้ารับลงทะเบียนกันตอน 07.00 – 08.00 น.
ซึ่งในช่วงนี้น้องๆก็จะมาลงทะเบียนและรอคอยเข้าสู่พิธีเปิด น้องๆที่มา
ร่วมร้องเพลงและเต้นกันซึ่งน้องๆก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
หลังจากนั้นเวลา 10.00 – 12.00 น. เป็นการให้น้องๆเข้าร่วมในแต่ละฐาน
มีการจัดขึ้นซึ่งการจัดทั้งหมด 4 ฐานด้วยกัน คือ ฐานสำรวจจุดเสี่ยงในชุมชน,
ฐานโรงเรียน และสนามเด็กเล่น, ฐานยาเสพติด, ฐานสำรวจจุดเสี่ยงภายในบ้าน

ซึ่งกลุ่มแกนนำจะให้น้องเวียนตามฐานจนครบในช่วงนั้นกลุ่มแกนนำก็มี
อาหารว่างให้น้องๆ จากนั้นพอเวลา 12.00 – 13.00 น. เป็นช่วงรับประทาน
อาหารเที่ยงของเด็กๆหลังจากนั้นเวลา 13.00- 13.30 น. เป็นพิธีปิดงาน
กลุ่มแกนนำได้เดินทางจากบุรีรัมย์มาศรีสะเกษวันที่ 15 ตุลาคม 2549
เวลา 14.00 จากนั้นกลุ่มแกนนำหาที่พัก

วันที่ 16 ตุลาคม 2549 เวลา 09.00 น. เป็นพิธีเปิดจากนั้นกลุ่มแกนนำ
ให้น้องเล่นสันทนาการร้องเพลงเป็นเวลา 09.30 น. ในจังหวัดศรีสะเกษ
เด็กมาน้อย จำเป็นต้องยุบฐานเหลือเพียง 2 ฐาน แต่ให้ความรู้ทั้งหมด 4 เรื่อง
โดยให้น้องๆแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยแบ่งเป็นหมู่บ้าน คือ
หมู่บ้านกระโพธิ์และหมู่บ้านเริงรมย์ จากนั้นกลุ่มแกนนำก็ให้ความรู้น้องๆ
จนครบทั้ง 4 เรื่อง กลุ่มแกนนำให้น้องๆเขียนความรู้สึกของตนเองใส่รูปหัวใจ
จากนั้นก็รับประทานอาหารร่วมกัน แล้วพวกเราก็เก็บของเดินทางกลับกรุงเทพ

   

สายที่ 2- 3 จังหวัดสระแก้ว
วันที่ 15 ตุลาคม 2549 ได้ออกเดินทางจากที่พัก(ศาลายา)
ไปเตรียมงานที่โรงเรียนบ้านด่านชัยพัฒนา จังหวัดสระแก้ว
เพื่อจัดกิจกรรมโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยสู่บ้านเกิด
ไปเตรียมสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมในวันที่ 16 ตุลาคม 2549
เตรียมสถานที่จัดกิจกรรมเสร็จ ก็เดินทางเข้าที่พักเพื่อประชุมในการจัดกิจกรรม
และซ้อมสันทนาการ ในวันรุ่งขึ้นเดินทางออกจากที่พักแต่เช้าไปยัง
โรงเรียนบ้านด่านชัยพัฒนา เพื่อจัดกิจกรรม รับน้องๆบ้านด่านชัยพัฒนาลงทะเบียน
หลังจากนั้นเป็นพิธีเปิดโดยผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านด่านชัยพัฒนา
จากนั้นละลายพฤติกรรมโดยมีเกมสร้างความสามัคคีและแบ่งกลุ่มน้องๆ
ออกให้ออกแสดงละครตามหัวเรื่องต่างๆดังนี้
1.ยาเสพติด
2.ไฟไหม้
3.จมน้ำ

เมื่อแสดงละครจบและก็ถามความข้อคิดเห็นกับน้อง และทางกลุ่มแกนนำ
ได้นำเกมส์น้ำเกลือ โดยให้น้องๆที่เล่นละครเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นกลุ่มที่
ทานน้ำเกลือและให้บอกถึงความรู้ลึกที่ได้ทานน้ำเกลือและสอนน้องๆ
อย่าไว้ใจใครง่ายๆแม้แต่เพื่อนตนเอง

สุดท้ายมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ของชมรมเด็กไทยปลอดภัยด่านชัยพัฒนา
เพื่อดำเนินงานด้านชุมชนปลอดภัยต่อไป
แต่เนื่องจากจำเป็นต้องรวมสายที่ 2 และสายที่ 3 ร่วมกัน
เพราะทางพิจิตรน้ำท่วมเดินทางลำบากทำให้สายที่ 2 ยกเลิกไป
และมีบางพื้นที่ไม่พร้อมเนื่องจากติดภารกิจทางศาสนา ติดน้ำท่วม
และทางกลุ่มแกนนำยังไม่ติดต่อประสานงานกับคนในพื้นที่
จึงทำให้ไปจัดกิจกรรมในพื้นที่นั้นไม่ได้ จึงต้องเลื่อนกิจกรรมดังกล่าวออกไป

   

สายที่ 4 จังหวัดกรุงเทพ และลพบุรี

1) ปัญหาอุปสรรค
ด้านปัญหาและอุปสรรคในการลงพื้นที่ครั้งนี้คือ
บุคลากรมีมากกว่าภูมิภาคอื่นๆจึงดูไม่ค่อยมีการกระจายตัว
ของกลุ่มเท่าใดนัก จึงต้องจัดสรรบุคลากรไปช่วยภูมิภาคอื่น ๆ
แต่ก็ยังคงมีปัญหาเรื่องของการเดินทางด้วย
เนื่องจากมีบุคลากรมากจึงทำให้ไม่สะดวกในการโดยสาร
ในช่วงลงพื้นที่ภายในกรุงเทพ แต่ก็แก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนรถ

2) สิ่งที่ได้รับ
สิ่งที่ได้รับจากการลงพื้นที่ครั้งนี้คือการทราบว่ากลุ่มในชุมชนนั้น
ยังเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของการเป็นสมาชิกชมรมอยู่
และตระหนักดีว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญและนอกจากนี้ยังได้กลุ่มใหม่ๆ
มาดำเนินงานต่อในทุกชุมชน ไม่ว่าจะเป็น สวนเงิน, กองพลที่ 1 รักษาพระองค์,
มั่นสิน หรือแม้แต่ลพบุรี ก็ได้มีการเพิ่มบุคลากรใหม่มาบริหารจัดการในส่วนของเยาวชน