- เวทีเสวนาเยาวชนเพื่อเรียกร้องสิทธิความปลอดภัย
   
 

ที่มาของการจัดเสวนาเรื่อง มอเตอร์ไซค์จำเป็นหรือไม่ ?
ในแต่ละปีรถจักรยานยนต์มียอดนำเข้าและ
จำหน่ายที่สูงกว่าพาหนะชนิดอื่น ๆ

ด้วยรูปลักษณ์ที่ดึงดูดผู้บริโภค ซื้อง่ายขายคล่องด้วยระบบเงินผ่อน
จักรยานยนต์จึงกลายเป็นพาหนะหลักของครอบครัวไทย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวชนชั้นกลาง
เด็กในครอบครัวเหล่านั้นต้องกลายเป็นผู้ใช้
รถจักรยานยนต์ไปตามความจำเป็นของครอบครัว

   
   
   
 
 
 
 

ในขณะเดียวกันสังคมก็ให้การยอมรับและถือเป็นเรื่องปกติ
ทำให้ความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์
กลายเป็นความทุกข์ไล่ล่าเด็กเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ประเทศไทยมีทั้งกฎหมายห้ามเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีขับขี่รถจักรยานยนต์ มีกฎหมายหมวกนิรภัย
มีกฎหมายห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

รัฐบาลให้ความสนใจปัญหาอุบัติเหตุจราจรเป็นอย่างมาก
แต่ก็ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงในเด็กแต่อย่างใด

เด็ก วัยรุ่นยังคงใช้รถจักรยานยนต์กันอย่างเสรีภายใต้ความเสี่ยงต่างๆ
ประกอบกับพ่อแม่อนุญาตด้วยความเต็มใจ ผู้ใหญ่ในชุมชนไม่คิดว่าเป็นความเสี่ยง
ตำรวจก็ไม่สนใจที่จะจับเพื่อตักเตือน นักวิชาการให้ความสนใจน้อย
ไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังว่าทำไมเด็กจึงต้องขับขี่ก่อนวัย
และยังไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมเพื่อทดแทนการใช้รถจักรยานยนต์ที่รัฐจะลงทุน

 

 

 
     
 
   
 

ที่มาของการจัดเสวนาเรื่อง กำลังใจจากเพื่อนสู่เพื่อนชาวใต้
เหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น
ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัด การที่เด็กสูญเสียบุคคลในครอบครัว
การไม่รู้ซึ่งสิทธิของเด็กและเยาวชน การถูกบังคับ การไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่
ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการก่อความไม่สงบในหลากรูปแบบ เช่น
การใช้เด็กและเยาวชนอยู่ด้านหน้าของการก่อการชุมนุม

จากสถานการณ์เหล่านี้ส่งผลให้เด็กและเยาวชนต้องอยู่อย่างหวาดกลัวและหวาดระแวงผู้คนรอบข้าง
เกิดความแตกแยกในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบ ความโกรธแค้นฝ่ายตรงข้าม
นำมาซึ่งการแก้แค้นแบบรุนแรง เหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและเยียวยาแก้ปัญหา

   
 

จึงเกิดมีกลุ่มเยาวชนที่มีความรู้สึกที่ว่า
พวกเขาจะต้องต้องทำงานเยียวยาน้อง ๆ ที่ได้รับผลกระทบในนาม กลุ่มลูกเหรียง

เกิดจากการรวมตัวของเด็กเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสียบุคคลในครอบครัว
เช่นเดียวกันส่วนหนึ่ง และน้อง ๆ อาสาสมัครที่ทำงานด้านประเด็นความสำคัญในพื้นที่
คือประเด็นความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนในเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ โดยได้ร่วมจัดเวทีความรุนแรงต่อเด็กในพื้นที่ 3 จังหวัด

เพื่อระดมเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัด
และการไม่รู้ซึ่งสิทธิของเด็กและเยาวชน การไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ เด็กและ
เยาวชนถูกใช้เป็นเครื่องมือในการก่อความไม่สงบ
รวมทั้งการใช้เด็กและเยาวชนอยู่ด้านหน้าของการก่อการชุมนุม
ซึ่งมาจากความไม่รู้และการถูกบังคับ

   
 

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้เด็กต้องอยู่อย่างหวาดกลัว และหวาดระแวงผู้คนรอบข้าง
และยังเกิดความแตกแยกในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบจากครอบครัวผู้ก่อการ
และเด็กและเยาวชนจากครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากผู้ก่อการ

จึงจัดให้มีกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเยียวยา การพูดคุย
รวมทั้งการช่วยเหลือเบื้องต้นในกรณีที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
รวมทั้งที่พักพิงชั่วคราวเพื่อส่งต่อสู่การแก้ปัญหาได้ในระยะยาว
และจัดให้มีเวทีสันติภาพสู่สันติสุข กับเด็กและเยาวชนที่ได้รับ
ผลกระทบจากปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เพื่อสร้างจิตสำนึกการไม่ใช้ความรุนแรงต่อเด็ก ใช้หลักสันติในการแก้ปัญหา
รวมทั้งพัฒนาโครงการที่ส่งให้เกิดผลการไม่ใช้ความรุนแรงในเด็ก และเยาวชน
การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโดยใช้สื่อศิลปะ ในรูปแบบต่าง ๆ
จนสุดท้ายของโครงการออกมาเป็นนิทานยุติความรุนแรง
ความพิเศษของนิทานประกอบภาพคือมาจากเรื่องราวชีวิตของน้อง ๆ แต่ละคน
ที่หักมุมเรื่องราวทั้งหมดโดยหลักสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
รวมทั้งการเอานิทานทั้งหมดออกไปเล่าสัญจรตามโรงเรียนต่าง ๆ

โดยการเล่านิทานประกอบภาพ จากโครงการนิทานยุติความรุนแรง และ
การชวนคุยเพื่อสร้างแนวคิด ปลูกฝังการไม่ใช้ความรุนแรงตั้งแต่เด็ก ๆ
โดยเริ่มสัญจรเล่าในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โดยกิจกรรมการสัญจรเล่านิทาน กลุ่มลูกเหรียงไม่มีโครงการต่อเนื่องเพื่อ
สนับสนุนการทำกิจกรรมต่อเนื่อง และการจัดกิจกรรมเพื่อรองรับการระดมปัญหา
ในพื้นที่สู่การแก้ไขได้ถูกจุดและในระยะยาวในกลุ่มพิเศษต่าง ๆ และกิจกรรมในการเยียวยา
และพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการการช่วยเหลือ
สนับสนุนในระยะยาวเพื่อสามารถต่อสู้ และอยู่รอดได้

กลุ่มลูกเหรียงอยากให้นิทานที่มีคุณค่าเหล่านี้
ได้สร้างประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาแนวคิด
ปลูกฝังการไม่ใช้ความรุนแรงตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งพวกเราคิดว่าเด็ก และเยาวชนคือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด

   
 

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น
จึงเกิดมีกลุ่มเยาวชนที่เห็นความสำคัญของเพื่อนๆ
ที่ต้องตายและบาดเจ็บจากการใช้มอเตอร์ไซค์
และเพื่อนๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ กลุ่มชมรมเด็กไทยปลอดภัย
(แกนนำเยาวชนจาก 9 จังหวัด) กลุ่มสภาเด็กและเยาวชน และกลุ่มลูกเหรียง
ได้จัดการเสวนาเรียกร้องสิทธิความปลอดภัยขึ้น เพื่อให้ตัวแทนเยาวชน
มารวมตัวกันพูดคุยเพื่อสะท้อนมุมมอง ความคิด ความรู้สึกของเยาวชน
ที่มีต่อปัญหาความสูญเสีย ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเพื่อนๆ ของพวกเขา
จากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจักรยานยนต์และผลกระทบจากเหตุการณ์
ความรุนแรงของเยาวชนที่อาศัยอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

อีกทั้งเป็นกระบอกเสียงเพื่อส่งสารสำคัญที่ได้จากการพูดคุยในเวทีเสวนานี้
สะท้อนถึงผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และสาธารณชนเพื่อให้เกิดการดำเนินงาน
ในลักษณะช่วยเหลือ แก้ปัญหาที่ครอบคลุมกลุ่มเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ

   
 
 
 

- เวทีเสวนาเยาวชนเพื่อเรียกร้องสิทธิความปลอดภัย  จ.บุรีรัมย์

- เวทีเสวนาเยาวชนเพื่อเรียกร้องสิทธิความปลอดภัย   จ.สระแก้ว

- เวทีเสวนาเยาวชนเพื่อเรียกร้องสิทธิความปลอดภัย  จ.พิจิตร

- เวทีเสวนาเยาวชนเพื่อเรียกร้องสิทธิความปลอดภัย  ระดับประเทศ