หน้าหลัก  
 
 
::
   
 
 
     
 
การดำเนินชุดโครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
(Child Safety Promotion and Injury Prevention Project) จำนวน 7 โครงการย่อย
 
 
   
 
โครงการ 1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนเพื่อความปลอดภัยในเด็ก:
ชุมชนปลอดภัย โรงเรียนปลอดภัย ศูนย์เด็กเล็กปลอดภัย
 
 
 
เครือข่ายเป้าหมาย ที่เป็นลูกค้าของโครงการ ต้องทำให้รู้จักโครงการ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการคือ
 
 
•เครือข่ายเป้าหมายในระดับจังหวัด (provincial customers) ได้แก่ ผู้บริหารระดับจังหวัด องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดและตำบล กรรมการคุ้มครองเด็ก กรรมการป้องกันอุบัติภัย กรรมการความปลอดภัย
ทางถนน ป้องกันภัยจังหวัด (ปภ) สาธารณสุขจังหวัด (สสจ) โรงพยาบาลจังหวัด พัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงมนุษย์ (พมจ) เขตการศึกษา คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด สื่อประจำจังหวัด
มหาวิทยาลัยในจังหวัด (เน้นคณะที่ผลิตบุคลากรที่เกี่ยวข้อง) หน่วยงานภาคเอกชน องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาสังคม
 
•เครือข่ายเป้าหมายในระดับชาติ (national customers) ได้แก่
คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ กรมป้องกันภัย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ กระทรวงคมนาคม
สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หน่วยงานภาคเอกชน ผู้ผลิต และองค์กรอิสระ สื่อสารมวลชน สันนิบาตเทศบาล
สมาคมองค์กรท้องถิ่น และภาคประชาสังคม
 
 
     
     
 

ความเป็นมา

 
  “ชุมชนเด็กปลอดภัย” เป็นกลยุทธ์การดำเนินงานสร้างเสริมความปลอดภัยที่ดำเนินการแบบบูรณาการโดยคำนึงถึงชุมชนเป็นหลัก (community – based comprehensive safety promotion program) โดยมีหลักการ 13 ประการของชุมชนเด็กปลอดภัยคือ
 
     
  • ชุมชนจะต้องดำเนินงานการป้องกันการบาดเจ็บโดยความสนใจของชุมชนเอง
โดยมีการจัดตั้งกลุ่มพหุภาพ (cross-sectorial group) ในระดับชุมชน การป้องกันการบาดเจ็บ
ในระดับชุมชนต้องดำเนินการโดยองค์กรต่างๆในชุมชนเอง ในระยะแรกการดำเนินงานจะต้อง
เป็นการรวมตัวกันขององค์กรต่างๆที่มีอยู่แล้วในระยะยาวจะต้องเกิดกระบวนการทางสังคมและ
การเมืองของชุมชนที่จะนำไปสู่การดำเนินการป้องกันการบาดเจ็บและสร้างเสริมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
 
     
  • ชุมชนต้องสร้างเครือข่ายความปลอดภัยโดยเชื่อมโยงหน่วยงาน องค์กรภายในและภายนอกชุมชน ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่างๆ  
     
  • มีระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บของชุมชน (injury surveillance system)
ที่จะให้ชุมชนได้เห็นถึงขนาดของปัญหา ปัจจัยเสี่ยง ทั้งบุคคลเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง สิ่งแวดล้อมเสี่ยง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
และชุมชนสามารถใช้ระบบเฝ้าระวังเพื่อการประเมินผลการดำเนินงานต่างๆของชุมชน
 
     
  • มีระบบการสำรวจความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม (safety round) และพฤติกรรมเสี่ยง (risk behaviour monitoring) ในชุมชน  
     
  • ดำเนินกิจกรรมป้องกันการบาดเจ็บและสร้างเสริมความปลอดภัยทั้งการบาดเจ็บโดยไม่ตั้งใจ
(unintentional injries) และการบาดเจ็บโดยตั้งใจ (intentional injuries) ในทุกกลไกของ
การบาดเจ็บ ตามลำดับความสำคัญของปัญหา ในทุกการจัดตั้ง (setting)ที่เด็กต้องอาศัย
เช่น โครงการบ้านปลอดภัย โรงเรียนปลอดภัย ศูนย์เด็กเล็กปลอดภัย
 
     
  • ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับกลุ่มเสี่ยง เช่นเด็กในครอบครัวยากจน เด็กพิการเป็นต้น  
     
  • สนับสนุนการใช้อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยต่างๆ (safety equipment) เช่น หมวกนิรภัย ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กในรถยนต์และรถจักรยาน อุปกรณ์ชูชีพ เครื่องตรวจจับควันไฟ เครื่องตัดไฟอัติโนมัติ เป็นต้น  
     
  • มีการต่อต้านผลิตภัณฑ์ (hazardous product) และสิ่งแวดล้อมอันตราย (hazardous environment)
ที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ เช่นปืนอัดลม รถหัดเดิน เครื่องเล่นสนามที่ไม่ได้มาตรฐาน
การสร้างถนนในชุมชนโดยไม่มีทางเท้า การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำโดยไม่มีรั้วกั้น เป็นต้น
 
     
  • มีการต่อต้านพฤติกรรมอันตราย (ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก) อันจะนำไปสู่การบาดเจ็บในเด็ก เช่นเมาแล้วขับ นำเด็กนั่งตักขณะขับรถยนต์ เป็นต้น  
     
  • มีการฝึกอบรมการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก การปฐมพยาบาล การปฏิบัติการกู้ชีพเบื้องต้นในชุมชน  
     
  • สามารถดำเนินการระยะยาว โดยใช้ทรัพยากรปกติ งบประมาณปกติที่ท้องถิ่นต้องบริหารจัดการอยู่แล้ว
เพียงแต่ใช้ให้มีคุณค่า และให้เป็นประโยชน์ต่องาน สร้างเสริมความปลอดภัย
 
     
  • มีการกำหนดตัวชี้วัดความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับชุมชนเพื่อใช้เป็นตัววัดผลการดำเนินงาน  
     
  • มีการรวบรวมความรู้ ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินงานในชุมชน เผยแพร่สู่ชุมชนอื่นเพื่อให้ขยายผลให้เกิดการดำเนินงานการสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็กในระดับชาติ  
     
     
 

การดำเนินงาน

 
     
  กิจกรรม 1 ระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในชุมชน /โรงเรียน/ ศูนย์เด็กเล็ก
กิจกรรม 2 ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ดูแลเด็ก เด็กในชุมชน สิ่งแวดล้อมเสี่ยง และสำรวจความคิดเห็นเชิงลึกของผู้บริหารท้องถิ่น
กิจกรรม 3 โครงการอบรมพัฒนากลุ่มแกนนำและองค์กรเครือข่าย ชุมชนปลอดภัย /โรงเรียน/ ศูนย์เด็กเล็ก
กิจกรรม 4 การพัฒนานวัตกรรมความปลอดภัยในจังหวัด/ ชุมชน/โรงเรียน/ ศูนย์เด็กเล็ก
กิจกรรม5 ความปลอดภัยในของเล่น เล่น สนามเด็กเล่น สวนสนุก สิ่งแวดล้อมปนเปื้อนสารตะกั่ว นักมวยเด็ก
กิจกรรม 6 รายงานสรุปความปลอดภัยของจังหวัด/ ชุมชน/โรงเรียน/ ศูนย์เด็กเล็ก ประจำปี
กิจกรรม 7 การขยายผลในองค์กรท้องถิ่นและจังหวัด
 
     
 
     
 
 
::