หน้าหลัก  
 
 
::
   
 
 
     
 
การดำเนินชุดโครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
(Child Safety Promotion and Injury Prevention Project) จำนวน 7 โครงการย่อย
 
 
   
 

โครงการ 6 ความเสี่ยงต่อการได้รับสารตะกั่ว ในเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรุงเทพมหานคร

 
 
 
 

เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

 
 
องค์กรท้องถิ่น (กทม) กระทรวงวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงงานคุ้มครองผู้บริโภค
กรมอนามัย กระทรวงสารณสุข องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
นักพิษวิทยา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สภาอุตสาหกรรม
 
   
 
 

ที่มาของงานวิจัย

 
     
 

ปัจจุบันมีข่าวการตรวจพบสารตะกั่วปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่นฝุ่น ดิน น้ำ
รวมถึงของเล่น และภาชนะในการจัดเก็บอาหารและน้ำดื่ม เป็นจำนวนมาก ในปี ค.ศ. 1991
Centers for Disease Control and Prevention ( CDC )ได้กำหนดว่า ระดับสารตะกั่วในเลือด
ที่มากกว่า10 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรถือเป็นค่าที่สูงกว่าค่าปกติ และต่อมา ค.ศ.1997
United Nations Environment Programme/United Nations Children”s Fund (UNEP-UNICEF)

พบว่าเด็กมีความเสี่ยงต่อการได้รับพิษจากตะกั่วมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากพื้นที่ผิวกายและความสามารถ
ในการดูดซึมสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายของเด็กพบ 50% เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ที่มีเพียงแค่ 10-15% อีกทั้งเด็กยัง
มีพฤติกรรมเสี่ยงในการเอาของเข้าปาก รวมถึงการมีกิจกรรมต่างๆบนพื้นที่ปนเปื้อนด้วยสารตะกั่ว ในช่วงปี
ค.ศ. 2002-2005 CDC และ American Academy of Pediatrics, Committee on Environmental Health พบว่า
สารตะกั่วเป็นมลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่ก่ออันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงต่อเด็ก หากได้รับปริมาณมากในวัยเด็ก
จะมีผลโดยตรงต่อระดับสติปัญญา สมองและระบบประสาทอย่างถาวรได้
โดยเฉพาะเด็กในวัย 5 ขวบปีแรกซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดที่มีการพัฒนาของสมอง

 
     
 

ส่วนในประเทศไทย สุวรรณาและคณะได้ทำการศึกษาในปี พ.ศ.2535-2542 พบว่า
สัดส่วนของเด็กวัย 2-5 ปีที่มีค่าสารตะกั่วในเลือดเกินกว่า 10 มคก/ดล.ประมาณร้อยละ 21
ในปี พ.ศ. 2547 กรมอนามัยได้พบว่าสารตะกั่วเป็นพิษนั้นพบได้บ่อยที่สุดในบรรดาโรคที่เกิด
จากสิ่งแวดล้อม และมักจะพบในเด็กอายุตั้งแต่6 เดือน-6 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก

ดังนั้นหากเราสามารถหาภาวะเสี่ยงของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมและนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานใน
การปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัยต่อสารตะกั่วได้
จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคพิษตะกั่วอย่างถาวรต่อสมองของเด็กได้ จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้

 
     
 
 

วัตถุประสงค์

 
     
 

1.เพื่อศึกษาความชุกของสิ่งแวดล้อมที่มีระดับสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
2. เพื่อตรวจดูระดับสารตะกั่วในเลือดของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และนำมาเปรียบเทียบระดับสารตะกั่วในเลือดของเด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่างกัน
3. สร้างประเด็นร่วมเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายด้านสุขภาพเด็ก เครือข่ายสิ่งแวดล้อม เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ประชาคมผู้ผลิต ประชาคมอุตสาหกรรม ให้มีการเคลื่อนไหวร่วมกันเพื่อจัดการความปลอดภัยในเด็ก

 
     
 
 

วิธีการดำเนินงาน

 
 

งานวิจัย

 
 


 
  •ตรวจหาสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม  8 จุดในแต่ละศูนย์ ดังนี้คือ  สีทาบ้าน  สีในของเล่น  ภาชนะใส่อาหาร   น้ำจากน้ำประปา น้ำดื่มในถังหรือภาชนะจัดเก็บที่มีการเชื่อมด้วยสารตะกั่ว ภาชนะหุงต้มที่มีการเชื่อมด้วยสารตะกั่ว ฝุ่นที่พื้นหรือดินในบริเวณสนามเด็กเล่น  
 

•นำผลตะกั่วในสิ่งแวดล้อมที่ได้มาเทียบกับค่ามาตรฐานของ CDC guideline

เพื่อหาสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อสารตะกั่วสูงดังตาราง

 
 
 
Source Standard recommend by CDC
Paint New paint 600 ppm, soluble 90 ppm
Interior dust

Floor 40 mcg/ft2

Interior window sills 250 mcg/ft2

Window troughs       400 mcg/ft2
Residential soil Bare play area soil 400 ppm
All other soil 1200 ppm
Drinking water First draw tap 15 ppm (0.015mg/L)
 
 

หมายเหตุ วิธีการตรวจให้เป็นไปตามมาตรฐานต่างๆดังนี้

 
 
Sample       Test Method
Sand

US EPA 3052

Water      

APHA ed.21 method 3120B

Toy    

 TIS 685

Paint for building

US EPA 3051

Drinking water APHA ed.21 method 3120B
 
 
     
  •ตรวจหาระดับสารตะกั่วในเลือดของเด็กในแต่ละศูนย์ โดยกำหนด inclusion criteria คือ
เด็กที่อยู่ในศูนย์อย่างน้อย 6 เดือนต่อเนื่อง คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยคาดหวังว่าร้อยละ 20
ของเด็กก่อนวัยเรียนมีโอกาสที่จะมีสารตะกั่วสูงกว่า 10 µg/dl โดยโอกาสต่ำสุดที่ควรจะถูก
ตรวจพบเท่ากับร้อยละ 2 กำหนดให้ระดับความเชื่อมั่นเท่ากับ 95 %
จะใช้กลุ่มตัวอย่างประมาณ 15 คนต่อศูนย์ โดยเก็บเลือดใส่ EDTA tube 5 ml และส่งตรวจ
หาสารตะกั่วโดยวิธี Atomic Absorption Spectometry
 
  •เปรียบเทียบระดับสารตะกั่วในเลือดของเด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่างกัน  
     
 

งานการขับเคลื่อนสังคม

 
     
  •Policy advocacy จัดการประชุมเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
•Media advocacy เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ
 
     
 
 
 
 
::