หน้าหลัก  
 
 
::
   
 
 
     
 
การดำเนินชุดโครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
(Child Safety Promotion and Injury Prevention Project) จำนวน 7 โครงการย่อย
 
 
   
 

โครงการ 3: นโยบายการพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กระดับชาติ
( National Child Death Deliberation Policy)

 
 
 
 

เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

 
 
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์
คณะอนุกรรมการเด็กและเยาวชนในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ และระดับจังหวัด องค์กรท้องถิ่น
สักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานอัยการ กระทรวงสาธารณสุข
มูลนิธิศูนย์พืทักษ์สิทธิเด็ก และกลุ่มแพทย์นิติเวชและกุมารแพทย์
 
   
 
 

ความเป็นมา

 
     
 

Child Death Deliberation (CDD) เป็นกลยุทธ์และเครื่องมือเพื่อสร้างความเข้าใจถึงเหตุ
และปัจจัยการเสียชีวิตของเด็กจากอุบัติเหตุและความรุนแรงอย่างเป็นระบบ
ผลการวิเคราะห์นี้จะนำไปสู่แนวทางการป้องกันการเสียชีวิตของเด็กรายอื่นๆ ต่อไป
กระบวนการ CDD เป็นกระบวนการที่จะทำให้เกิดการพิเคราะห์ (พิจารณาอย่างถ้วนถี่)
ข้อมูลการตายของเด็กจากเหตุภายนอก (external causes) หรือเหตุผิดธรรมชาติ (unnatural causes)

โดยการทำงานร่วมกันของหลากหลายวิชาชีพ (multidisciplinary)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของเด็ก
ทั้งในระดับท้องถิ่นและส่วนกลาง เช่น เจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย ตำรวจ อัยการ เจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็ก
แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา เป็นต้น การพิเคราะห์ข้อมูลแบบบูรณาการนี้
จะนำไปสู่ความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายและการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำจากหน่วยงานต่างๆอย่างมีพลังทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติ

 
     
 

Child Death Deliberation (CDD) ได้ทดลองดำเนินการตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2546
โดย คณะอนุกรรมการด้านเด็กเยาวชน และครอบครัว ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ร่วมกับ สำนักโรคไม่ติดต่อ( กรมควบคุมโรค )
ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สมาคมปลอดภัยไว้ก่อน มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ

โดยมีการพัฒนากระบวนการเก็บข้อมูลจากกรณีตัวอย่างแบบไม่กำหนดพื้นที่ และพัฒนาการพิเคราะห์ข้อมูล
แบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทั้งในระดับท้องถิ่นและส่วนกลางที่เกี่ยวข้องกับการตายของกรณีตัวอย่าง

 
 

ในปี 2549 กรุงเทพมหานคร ได้จัดตั้งโครงการบูรณาการเพื่อความปลอดภัยในเด็กภายใต้ชื่อ
โครงการ “กรุงเทพมหานครร่วมใจ ป้องกันอุบัติภัยในเด็ก” โดยศจ พญ เพ็ญศรี พิชัยสนิธ
และต่อมาในปี 2550 ได้เล็งเห็นว่ากระบวนการ CDD จะนำไปสู่การขับเคลื่อนการทำงานได้
กรุงเทพมหานครจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ Child Death Deliberation ขึ้น

โดยมี กรรมการจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ คณะกรรมการมีหน้าที่พิจารณาข้อมูลการตายของเด็ก
และนำเสนอจุดอ่อนของระบบการคุ้มครองเด็กและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอันนำไปสู่การตายในเด็ก
และนำเสนอต่อผู้บริหารกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการกรุงเทพมหานครร่วมใจ ป้องกันอุบัติภัยในเด็กต่อไป
นับได้ว่ากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรท้องถิ่นแรกที่ได้ดำเนินการ CDD
โดยมีนโยบายที่ชัดเจน แม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวมิได้เป็นการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก กรุงเทพมหานคร

 
     
 
 

แนวคิด CDD: หลักการพื้นฐาน ๗ ประการ ของการพิเคราะห์เหตุการณ์ตาย (CDD)

 
 
     
 
 
 

๑ เหตุการณ์ตายแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะคือตายจากป่วยด้วยโรค (illness) และ ตายจากเหตุภายนอก (external causes)
เหตุภายนอกหมายถึง การตายจากอุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ และ ความรุนแรง ซึ่งรวมทั้งการทำร้ายตนเอง การทำร้ายผู้อื่น
เหตุเหล่านี้นอกจากภัยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เป็นผู้ก่อเหตุเองเกือบทั้งสิ้น (manmade diseases) ดังนั้นการตายจากเหตุภายนอกนี้จึงต้องแก้ไข ป้องกันให้ได้ เพราะไม่ควรมีผู้ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่จะต้องบาดเจ็บและตายจากการกระทำของมนุษย์ด้วยกัน

 
     
  ๒ การทำ CDR ในที่นี้จะ ครอบคลุมเฉพาะเหตุภายนอก
(หรืออาจครอบคลุมโรคในกรณีจัดเป็นภัยสาธารณะเช่นโรคระบาดร้ายแรง การใช้อาวุธชีวภาพ เป็นต้น)
 
     
  ๓ เมื่อวิเคราะห์การตายจากเหตุภายนอกในเด็กแล้ว
จะพบว่าทุกเหตุจะมีรากเหง้าของเหตุ (root causes) ๓ ประการคือ
พฤติกรรมของเด็ก ระบบการคุ้มครองดูแล และ สิ่งแวดล้อม- ผลิตภัณฑ์รอบตัวเด็ก
ซึ่งหากมีความเข้าใจในรากเหตุทั้งสามประการแล้ว จะสามารถจัดการให้เกิดความปลอดภัยในเด็กได้
 
     
  ๔ การตายเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง จะต้องมีจุดอ่อนอย่างมากของรากเหตุทั้งสามเสมอ
อาจมีอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีจุดอ่อนทั้งสามรากเหตุประกอบกัน
จุดอ่อนที่เกิดจาก ระบบการคุ้มครองดูแล และ สิ่งแวดล้อม- ผลิตภัณฑ์รอบตัวเด็ก
จนเป็นเหตุให้เด็กตายเป็นการละเมิดสิทธิเด็กอย่างรุนแรง
ทั้งจากนิยามสิทธิในพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กและในอนุสนธิสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
 
     
  ๕ จุดอ่อนทั้งสามรากเหตุที่เกิดกับเด็ก จะมีผู้รับผิดชอบเสมอ
ผู้รับผิดชอบในแต่ละรากเหตุจะมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และระดับสังคม
จุดอ่อนของผู้รับผิดชอบทั้งสามระดับของทั้งสามรากเหตุคือกุญแจสำคัญที่แท้จริงที่จะนำไปสู่การป้องกัน มิให้เกิดเหตุในครั้ งต่อไป
 
     
  ๖ การพิเคราะห์หมายถึง การพินิจ พิจารณาอย่างใคร่ครวญ (careful consideration)
ดังนั้น การทำ CDR จะครอบคลุมทั้งการเก็บข้อมูลเหตุการณ์ตายของเด็กจากเหตุ
ภายนอกเชิงลึกอย่างละเอียดถี่ถ้วน และการนำข้อมูลนั้นมาพินิจพิจารณาอย่างใคร่ครวญเพื่อหาแนวทางการป้องกัน
การพิจารณาอย่างใคร่ครวญหมายถึงการพิจารณาโดยผู้เกี่ยวข้องหลายสาขาหรือที่เรียกว่า กลุ่มสหวิชาชีพ (multidisciplinary group)
 
     
  ๗ ผลจากการพิจารณาอย่างใคร่ครวญโดยกลุ่มสหวิชาชีพนี้
จะต้องมุ่งเป้าในการค้นหาจุดอ่อนทั้งสามรากเหตุ และ ผู้รับผิดชอบ
ทั้งนี้มิได้เพื่อเอาผิด แต่เพื่อหาแนวทางการป้องกัน และหาผู้รับผิดชอบที่จะต้องเป็นผู้ผลักดันแนวทางนั้นสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงให้ได้
 
     
 
 
     
 
 

วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน CDD

 
 
 

๑ เพื่อให้รายงานการตายจากเหตุภายนอกมีความถูกต้อง และมีรายละเอียดมากขึ้น

๒ เพื่อติดตาม เฝ้าระวัง ปริมาณและแนวโน้มการตายของเด็กจากเหตุภายนอก

๓ เพื่อค้นหาจุดอ่อนของพฤติกรรมเด็ก ระบบการคุ้มครองดูแล สิ่งแวดล้อม-ผลิตภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการตาย รวมทั้งการปฏิบัติจริงที่เป็นอยู่ของหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบ

๔ เพื่อขับเคลื่อนหน่วยงานที่มีบทบาทในการสืบค้นเหตุให้มีการทำงานที่รวดเร็ว แม่นยำ มากขึ้น

๕ เพื่อเชื่อมโยงและขับเคลื่อนให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก้ไขจุดอ่อนด้านสิ่งแวดล้อม และด้านระบบการคุ้มครองดูแล ให้มีการสื่อสารและประสานงานร่วมกัน ดำเนินการแก้ไขจุดอ่อนนั้นให้รวดเร็วทันการ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำกับเด็กอื่นๆอีก

๖ เพื่อพัฒนาระบบการบริการ สวัสดิการ การสงเคราะห์ และการคุ้มครองเด็กในพื้นที่

๗ เพื่อสื่อสาเหตุการตายและแนวทางป้องกันสู่สาธารณะ ให้ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักในความเสี่ยง รู้ เข้าใจ และปฏิบัติตามแนวทางป้องกัน เพื่อมิให้เกิดเหตุการตายซ้ำอีก

๘ เพื่อขับเคลื่อนกฎหมาย แนวนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น และส่วนกลางให้มีความปลอดภัยในเด็กมากขึ้น

 
 
     
 
 
 

วิธีการดำเนินงาน

 
 
๑ ดำเนินการ CDD ในกรุงเทพต่อเนื่องเพื่อเป็นโครงการนำร่อง
๒ จัดตั้งคณะทำงาน CDD ในจังหวัดนำร่องหลัก
๓ การประชุมพิจารณาหาข้อสรุป ประชุมขยายผล และพัฒนาองค์ความรู้ต่อเนื่อง จากความเห็นของคณะกรรมการ และผลักดันการป้องกันมิให้เกิดเหตุซ้ำ
 
   
คณะกรรมการจะร่วมกันพิจารณาเหตุตายในเด็ก เพื่อหารากเหง้าของเหตุ (root causes) ๓ ประการคือ
พฤติกรรมของเด็ก ระบบการคุ้มครองดูแล และ สิ่งแวดล้อม- ผลิตภัณฑ์รอบตัวเด็ก และหาจุดอ่อนของ
ผู้รับผิดชอบทั้งสามระดับคือระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม ของทั้งสามรากเหตุ เพื่อนำไปสู่การกำหนด
แนวทางการป้องกัน และผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ เพื่อมิให้เกิดเหตุซ้ำอีก
ในการกำหนดแนวทางการป้องกันนั้นจะคำนึงถึงทั้งการให้ความรู้ การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม และการปรับเปลี่ยนนโยบาย กฎหมาย
 
 
 

ในบางกรณีศูนย์วิจัยจะดำเนินการจัดประชุมขยายผล และพัฒนางานวิจัยย่อยต่อเนื่อง จากความเห็นของคณะกรรมการ และผลักดันการป้องกันมิให้เกิดเหตุซ้ำ

 
     
 

ปัจจัยเสี่ยง จุดอ่อน และผู้มีส่วนรับผิดชอบ (responsible organization)

 
 
ครอบครัว
ชุมชน
สังคม
พฤติกรรมของเด็ก      
ระบบการคุ้มครองดูแล      
สิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์      
       
 
     
 

แนวทางการป้องกัน และผู้มีส่วนรับผิดชอบ (responsible organization)

 
 
ครอบครัว
ชุมชน
สังคม
การให้ความรู้      
การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม      
การปรับเปลี่ยนนโยบาย กฎหมาย และบรรทัดฐานสังคม      
       
 
     
 

๔.  สรุปรายงานการพิเคราะห์เหตุการตายของเด็กจากอุบัติเหตุและความรุนแรงประจำปี ประจำจังหวัดต่างๆ นำเสนอต่อจังหวัด กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ เพื่อผลักดันให้มีการดำเนินการเป็นงานประจำของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กของทุกจังหวัด รวมทั้งให้มีการจัดตั้ง ศูนย์พิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก แห่งชาติต่อไป

 
     
 

ตัวอย่างการรายงาน CDR ประจำปีของรัฐต่างๆในประเทศคุ้มครองเด็กประเทศสหรัฐอเมริกา

 
  Examples of States (and the District of Columbia) that have Annual CDR Reports  
   
  ๕. นำกระบวนการทั้งหมดสู่การขยายผลต่อผู้เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ และคณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัดต่างๆ
และผลักดันการรจัดตั้ง ศูนย์พิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก แห่งชาติต่อไป

 
     
 
     
 
     
 
 
::