หน้าหลัก  
 
 
::
   
 
 
     
 
การดำเนินชุดโครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
(Child Safety Promotion and Injury Prevention Project) จำนวน 7 โครงการย่อย
 
 
   
 

โครงการที่ 7 เครือข่ายแนวหน้าในการจัดการความปลอดภัยในเด็ก
(Frontline for Child Safety Management)  

 
 
 
  ความเป็นมา  
 
เครือข่ายแนวหน้าในการจัดการความปลอดภัยในเด็ก หมายถึง
การประสานงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อความปลอดภัยในเด็ก
ด้วยความเคารพต่อองค์ความรู้ ภาระกิจ บริบท และวัฒนธรรมการทำงานที่มีอยู่ของหน่วยงานนั้น
การประสานงานเครือข่ายด้วยความเคารพองค์กรต่างๆดังกล่าวจะทำให้เกิดเพื่อนร่วมงานที่เดินทางบนแนวเดียวกัน
ไม่มีผู้นำ ไม่มีผู้ตาม ไม่ก้าวก่ายความรับผิดชอบ และเกิดการบูราการงานต่างๆอย่างแท้จริง

 
   
 
 

แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม เครือข่ายคือ

 
     
 

1. เครือข่ายแบบบูรณาการ ซึ่งมีความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยในเด็ก ในระดับจังหวัดได้แก่ กรรมการป้องกันอุบัติภัยจังหวัด ศูนย์ความปลอดภัยทางถนนจังหวัด  กรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด (พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเลขาฯ) และกรรมการด้านความปลอดภัยในเด็กแบบบูรณาการรูปแบบอื่นๆ ในระดับประเทศได้แก่ คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ ศูนย์ความปลอดภัยทางถนน คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเลขาฯ) และกรรมการสิทธิมนุษยชน จะต้องดำเนินการให้เครือข่ายนี้รับรู้ข้อมูลความปลอดภัยในเด็ก และเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยขั้นต่ำในการดูแลเด็ก (minimal safety requirements for children) กำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยในเด็กให้ชัดเจนและมีการสั่งการ ดำเนินการ และติดตามงานด้านความปลอดภัยในเด็กผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และดำเนินการประชุมแบบบูรณาการเพื่อพิเคราะห์เหตุการตายของเด็กจากอุบัติเหตุและความรุนแรง (child death review)

 
     
 

2. เครือข่ายที่เป็นองค์กรในการจัดตั้งชุมชนและรับผิดชอบด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน (empowerment) จะต้องดำเนินการให้เครือข่ายนี้รับรู้ ส่งเสริม และขยายผลแนวทางการดำเนินการชุมชนปลอดภัย (safe community) เครือข่ายนี้ในระดับจังหวัดได้แก่ ผู้บริหารจังวัด อบจ/อบต สาธารณสุขอำเภอ/จังหวัด ปภจังหวัด พัฒนาสังคมจังหวัด ในระดับประเทศได้แก่ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันภัย กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาคประชาสังคม

 
     
 

3. เครือข่ายที่เป็นองค์กรสื่อความรู้ จะต้องดำเนินการให้เครือข่ายนี้มีความรับรู้และความรู้ในเรื่องความปลอดภัยในเด็ก สามารถสื่อความรู้ เรื่องการป้องกันการบาดเจ็บและการปฐมพยาบาลแก่ประชาชนในวงกว้าง สามารถจัดให้มีการฝึกทักษะแก่เด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก นายจ้างและชุมชนในเรื่องการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ความรุนแรง และการปฐมพยาบาล เครือข่ายนี้ซึ่งในระดับจังหวัดได้แก่ เขตการศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน ประชาสัมพันธ์จังหวัด สื่อท้องถิ่น สาธารณสุขอำเภอ/จังหวัด การศึกษาอื่นๆและมหาวิทยาลัยท้องถิ่น องค์กรท้องถิ่น ในระดับประเทศได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ  กรมประชาสัมพันธ์ สื่อต่างๆ กระทรวงสาธารณสุข NGO และภาคประชาสังคม

 
     
 

4. เครือข่ายที่รับผิดชอบในการจัดการโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็ก  จะต้องดำเนินการให้เครือข่ายนี้มีความรับรู้และความรู้ในเรื่องความปลอดภัยในเด็ก ส่งเสริม และขยายผลแนวทางการดำเนินการโรงเรียนปลอดภัย (safe school)  ศูนย์เด็กเล็กปลอดภัย (safe daycare) มรมเด็กไทยปลอดภัย รวมทั้งการดำเนินการอื่นที่เป็นการสร้างความมีส่วนร่วมของเด็ก ในกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัย เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดได้แก่ พัฒนาสังคม เขตการศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน สำนักการศึกษาอื่นๆและมหาวิทยาลัยท้องถิ่น ผู้บริหารจังวัด อบจ/อบต และภาคประชาสังคม ในระดับประเทศได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงแรงงาน กรมศาสนา กรมอนามัย และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  องค์กรท้องถิ่น (รวมกรุงเทพมหานคร) และภาคประชาสังคม

 
     
 

5. เครือข่ายที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์และการคุ้มครองผู้บริโภคจัดให้มีระบบข้อมูล การเฝ้าระวัง การเตือน และการจัดการตลาด ในเรื่องอันตรายจากผลิตภัณฑ์ค่างๆ (hazardous product) รวมทั้งการประชุมร่วมเพื่อพิเคราะห์เหตุการตายจากผลิตภัณฑ์ (product related death review ) สนับสนุนให้มีการใช้ (มีการผลิต) อุปกรณ์เสริมความปลอดภัยที่มีคุณภาพมาตรฐานและราคาเป็นธรรมเช่น   หมวกนิรภัยในเด็ก ที่นั่งนิรภัย เป็นต้น เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดได้แก่ คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด องค์กรผู้บริโภคอื่นๆในจังหวัด ผู้ผลิต สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า ต่างๆ ในจังหวัด และ  ผู้บริหารท้องถิ่น และ องค์กรท้องถิ่น (รวมกรุงเทพมหานคร) ในระดับประเทศได้แก่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า ต่างๆ

 
     
 

นอกจากการขับเคลื่อนให้เครือข่ายรับรู้ความเสี่ยง เห็นความสำคัญ ดำเนินการแก้ไขปัญหา มีความรู้ความเข้าใจในเครื่องมือ 8 ชนิดและขยายผลการใช้เครื่องมือทั้ง8 แล้ว เครือข่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้กลวิธีการสร้างกฎหมายใหม่หรือควบคุมการให้เกิดการใช้กฎหมายเก่า กับงานความปลอดภัยในเด็กผลักดันกฎหมายใหม่ และผลักดันการบังคับใช้กฎหมายเดิมที่จำเป็น

 
   

กฎหมายใหม่คือพรบเกี่ยวกับองค์กรอิสระ เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ กฎหมายความรับผิดในโครงสร้างทางกายภาพทั้งตัวอาคาร และการก่อสร้างนอกอาคาร การกำหนดมาตรการทางภาษีและสิทธิประโยชน์เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่สื่อมวลชนและผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีบทบาทในการส่งเสริมความปลอดภัยในเด็ก กฎหมายจราจรขนส่งที่เกี่ยวกับถนนจักรยาน และการใช้ที่นั่งนิรภัยในเด็ก  ผลักดันการบังคับใช้กฎหมายเดิมคือกฎหมายจราจร: หมวกนิรภัย ถนนชุมชน รถโรงเรียน กฎหมายควบคุมผลิตภัณฑ์ (ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมแบบบังคับ) กฎหมายว่าด้วยสิ่งเทียมอาวุธ (พลุ ดอกไม้ไฟ ปืนอัดลม) พรบคุ้มครองเด็กแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการซื้อขายสุราแก่เด็กกรมโยธาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  กระทรวงยุติธรรมกรมสรรพากร NGO สมาคมวิชาชีพต่า และภาคประชาสังคม  กรรมการสิทธิมนุษยชน

 
 
 

วิธีการดำเนินงาน

 
     
  1.ร่วมปฏิบัติงานกับเครือข่ายต่างๆ ในทุกรูปแบบ เช่นกรรมการ อนุกรรมการ เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ทางวิชาการ
2.การจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเครือข่ายในระดับชาติ
3.จัดเวทีสาธารณะ เวทีขยายผล ในระดับสังคม
4.จัดการฝึกอบรมบุคลากรของเครือข่ายต่างๆ
5.วิจัยสนับสนุนเครือข่าย
6.ผลิตสื่อชนิดต่างๆ

 
     
 
 
 
 
::