หน้าหลัก  
 
 
::
   
 
 
     
 
การดำเนินชุดโครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
(Child Safety Promotion and Injury Prevention Project) จำนวน 7 โครงการย่อย
 
 
   
 

โครงการ 5 มวยไทยปลอดภัย เพื่อ สุขภาพเด็กไทย Safe Muay Thai for Child Health

 
 
 
 

เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

 
 
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ องค์กรท้องถิ่น
สมาคมมวย เวชศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย
อนุกรรมการด้านเด็กและเยาวชนในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
 
   
 
 

ความเป็นมา

 
     
  ทั้งๆที่ พรบคุ้มครองเด็ก พศ 2546 ระบุให้ผู้ปกครองดูแล มิให้เด็กประกอบอาชีพที่จะเป็น
พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542 ระบุว่า ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีชกมวยเป็นอาชีพ
แต่จากการสำรวจทั่วประเทศ กลับพบว่า มีเด็กอายุระหว่าง 7 – 15 ปี
ต้องชกมวยเพื่อแลกกับเงิน ทั้งบนเวทีมวยถาวร เวทีมวยชั่วคราว ทั้งสถานที่ราชการ สถานศึกษา หรือแม้แต่ในงานวัด
 
     
  หากนับรวมทั่วประเทศ จะมีเด็กๆวัยต่ำกว่า 15 ปีขึ้นชกมวยไทย
เป็นจำนวนหลายพันคน! …เด็กจำนวนมหาศาลเหล่านี้ ได้เงินค่าขึ้นชก
โดยเฉลี่ยครั้งละ 50 – 600 บาท นักมวยเด็กเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีความยินดี
ที่จะหารายได้ให้แก่พ่อแม่และครอบครัว แม้ตนจะต้องเสียโอกาสทางการศึกษา และประสบความเจ็บปวด
 
     
 

โดยหลักการแล้ว ศิลปะมวยไทยคือมรดกของชาติอันน่าภาคภูมิใจ
และควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้มิให้ดับสูญ กับอีกทั้งจะต้องสืบสานให้เยาวชน
ของชาติได้เรียนรู้ฝึกฝนอย่างเหมาะสมและถูกต้อง

แต่การนำสมบัติของชาติอันล้ำค่านี้ ไปเป็นเครื่องมือ หรือเป็นข้ออ้างอันชอบธรรม
ในการเอารัดเอาเปรียบเด็กๆผู้ไร้เดียงสา ให้ต้องเป็นเหยื่อ เพื่อสร้างรายได้
หรือเพื่อความสะใจให้แก่บุคคลเพียงบางพวกบางกลุ่ม นั่นย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
ซ้ำยังดูไร้ความเมตตาอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้โครงการประกวดภาพยนตร์โฆษณารณรงค์

จึงริเริ่มขึ้น ด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพแห่งภาพยนตร์
ที่จะนำเนื้อหาสาระ และทัศนคติไปสู่การรับรู้ของผู้ชมในวงกว้าง
อันจะนำมาซึ่งความตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงกับเด็ก ที่เกิดขึ้นอย่างเรื้อรังในสังคมไทยที่รักของเรา

 
     
 
 

วัตถุประสงค์

 
     
 

1.เพื่อศึกษาผลการบาดเจ็บต่อสมองในนักมวยเด็ก
2.เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค การส่งเสริมการเรียนมวยไทยอย่างถูกวิธีแก่เด็ก และศึกษากลยุทธการสนับสนุนให้เด็กและผู้ปกครองสนใจการเรียนมวยไทยเพื่อสุขภาพ
3.เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักถึงปัญหาของอาชีพนักมวยเด็ก ต่อการพัฒนาการเด็กแก่ ผู้ดำเนินกิจการนักมวยเด็ก องค์กรและเครือข่ายที่เกี่ยว ประชาคมผู้ปกครอง และสังคม

 
 
 

วิธีการดำเนินงาน

 
     
 

a.การศึกษาผลการบาดเจ็บต่อสมองในนักมวยเด็ก
b.การศึกษาสถานการณ์มวยไทยในเด็ก และยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา
c.โครงการประกวดภาพยนตร์โฆษณารณรงค์(หนังสั้น- แอนิเมชั่น) เพื่อความปลอดภัยของเด็ก ในหัวข้อ...“นักมวยเด็ก ... ศิลปะ หรือ สะใจ ... กีฬา หรือ ทารุณกรรม !”

 
 
 
 
 
::