หน้าหลัก  
 
 
::
   
 
 
     
 
การดำเนินชุดโครงการ สร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
(Child Safety Promotion and Injury Prevention Project) จำนวน 7 โครงการย่อย
 
 
   
 

โครงการ 4 พัฒนาระบบความปลอดภัยในของเล่นและสนามเด็กเล่น ระดับชาติ
(National Program for Toy and Playground Safety)

 
 
 
 

เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

 
 
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ
คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สมาคมของเล่น
วิศวกรสถาน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กรมศุลกากร
 
   
 
 

ที่มาของปัญหา

 
  ของเล่นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
บังคับ มอก 685 เล่ม 1-3 ปี 2540 แต่สนามเด็กเล่นและเครื่องเล่นสวนสนุก
ยังไม่มีกฎหมายควบคุมแม้มีการเสียชีวิตเป็นประเด็นให้สังคมสนใจและเรียกร้องมาหลายต่อหลายครั้งก็ตาม
 
     
  แม้ของเล่นมีมาตรฐานที่เน้นให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
แต่ในทางปฏิบัตินั้นการบังคับใช้กฎหมายให้บรรลุเป้าหมายยังอยู่ห่างไกลเกินความงดงามตามที่นักวิชาการร่างไว้ในมาตรฐานของเล่น
 
     
 

ตัวอย่างเช่น ศูนย์วิจัยเสริมสร้างความปลอดภัยการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้จัดซื้อของเล่นจากจังหวัดน่าน พิษณุโลก บุรีรัมย์ สระแก้ว และกรุงเทพมหานคร
ทั้งของเล่นในห้างและตลาดทั่วไป จำนวน 183 ชิ้น ซึ่งเป็นของเล่นที่มีราคาไม่แพง
มีการวางขายทั่วไปในตลาดในประเทศ ซึ่งเด็กๆและผู้ปกครองสามารถซื้อหามาเล่นได้ทั่วกัน

ผลการตรวจพบระดับสารตะกั่วสูงกว่าค่าความปลอดภัยตามมาตรฐานกำหนดร้อยละ 16.9
ของของเล่นที่ตรวจสอบ (183 ชิ้น) โดยพบทั้งในของเล่นที่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม
(22ชิ้นใน 135ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 16.3) และไม่มีเครื่องหมาย (9ชิ้น ใน 48 ชิ้น คิดเป็นร้อยละ 18.8)

 
     
     
 
 

ตารางแสดง ประเภทของสารโลหะหนักที่มีระดับเกินกว่ามาตรฐาน ในของเล่นที่ตรวจพบจำนวน 31 ชิ้น

 
 
ประเภทสารโลหะหนัก

จำนวนของเล่นที่ตรวจพบ (31 ชิ้น)

สัดส่วนในของเล่นที่ตรวจพบ(ร้อยละ)
สัดส่วนในของเล่นทั้งหมดที่ทำการตรวจ (ร้อยละ)
sol lead
28
90.32
16.18
sol. chromium
18
58.06
10.40
sol. mercury
2
6.45
1.16
sol antimony
2
6.45
1.16
sol cadmium
1
3.23
0.58
sol. Barium
1
3.23
0.58
 
     
 

ผลนี้ แสดงให้เห็นถึงมีการขายของเล่นโดยไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรมอยู่ทั่วไป
มีการใช้เครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรมปลอม และที่สำคัญคือแม้เป็นเครื่องหมายจริง
แต่ระบบการตรวจสอบและรับรองมีความหละหลวม ไม่ควบคุมจริงจัง ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย
หรือผู้นำเช้าของเล่นขาดความรับผิดชอบทั้งๆที่รู้มาตรฐานเป็นอย่างดี ประชาชนทั่วไปและ
องค์กรที่มีหน้าที่ดูแลเด็กขาดความรู้เรื่องของเล่นปลอดภัย ขาดความตระหนักในความเสี่ยง
ขาดแนวทางปฏิบัติในการเลือกใช้ของเล่นที่ปลอดภัยรวมทั้งการจัดการความเสี่ยงอันจะเกิดขึ้นได้จากของเล่น

 
     
  สำหรับเด็กโตซึ่งมักได้รับบาดเจ็บจากสนามเด็กเล่นนั้น
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กไทย พบว่า
การบาดเจ็บจากเครื่องเล่นต่าง ๆ ในสนามเด็กเล่น คิดเป็นร้อยละ 1.47 ของการ
บาดเจ็บทั้งหมดในเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีที่มารับการตรวจที่ห้องฉุกเฉิน
ประมาณการบาดเจ็บทั้งประเทศ ปีละ 34,075 ราย เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี
มีการบาดเจ็บถึงร้อยละ 37 และ เด็กอายุ 6-8 ปีร้อยละ 40 ปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุ
ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุในสนามเด็กเล่น มี 3 สาเหตุหลักคือ การเล่นผิดวิธีของเด็ก
ที่เล่นแบบเสี่ยงและประมาท ขาดการควบคุมดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด และเครื่องเล่นไม่ได้มาตรฐานหรือติดตั้งผิดวิธี
 
     
 

Consumer Product Safety Commission (CPSC) ได้กำหนดมาตรฐานเครื่องเล่นและสนามเด็กเล่น   ซึ่งจากการวิจัยของ  Roseveareและคณะ และ Mowat และคณะ พบว่า การเล่นเครื่องเล่นที่ได้มาตรฐาน สามารถลดอัตราการบาดเจ็บได้ ในกรณียังขาดงบประมาณ งานวิจัยของ  Heck และคณะได้แสดงถึงการนำเอา behavioral intervention program ซึ่งเน้นในการปรับพฤติกรรมของเด็กในการเล่นและครูผู้ดูแลมาใช้  พบว่าลดพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุในสนามเด็กเล่นได้ เช่นเดียวกับการศึกษาของ Schwebel และ Bossenmeyer  

 
     
 
 

ในประเทศไทยมีเพียงสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคที่กำหนดฉลากเครื่องเล่นสนาม ไม่มีมาตรฐานกำหนดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและไม่มีระเบียบบังคับการติดตั้ง การตรวจสอบสภาพโดยกรมโยธาธิการ รวมทั้งในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ชุมชนยังไม่ปรากฎบรรทัดฐานการปฏิบัติในการควบคุมดูแลเด็กขณะเล่นและการฝึกทักษะการเล่นที่ปลอดภัยแก่เด็ก

 
 
 
 

วัตถุประสงค์ของโครงการ

 
     
  1.เพื่อขับเคลื่อนให้สังคมได้รับรู้อันตรายจากของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุก
และรู้ข้อกำหนดความปลอดภัย ของของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุก โดย มีการสื่อข้อมูลผ่านสื่อสาธารณะอย่างกว้างขวาง
 
     
  2.เพื่อให้หน่วยงานที่กี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพเด็กมีเครื่องมือและกระบวนการ
ในการสื่อความรู้เรื่องอันตรายจากของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุก และข้อกำหนดความปลอดภัย สู่กลุ่มผู้ปกครอง ของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี
 
     
  3.เพื่อขับเคลื่อนให้สังคมได้รับรู้และมีการถกในประเด็นของพรบ.
ความรับผิดทางผลิตภัณฑ์ (product liability law) โดยใช้กรณีอันตรายจากของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุก เป็นกรณีนำ
 
     
  4.เพื่อให้ของเล่นในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
สูงกว่าร้อยละ 90 ของแบบหรือประเภทของเล่นที่มีขายในห้าง
 
     
  5.เพื่อให้เครือข่ายความปลอดภัยของของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุก
ซึ่งประกอบด้วยกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ผลิต และนักวิชาการ
ได้ร่วมกันพัฒนากระบวนการควบคุมความปลอดภัย โดยมีการทำข้อกำหนดความร่วมมือที่ชัดเจนและมีการลงมือปฏิบัติ อย่างจริงจัง
 
     
 
 

วิธีการดำเนินงาน

 
     
  1.โครงการห้างของเล่นปลอดภัย
2.โครงการสนามเด็กเล่นปลอดภัย
3.Hot Line สายด่วน ของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุก อันตราย
4.การจัดประชุมเครือข่ายของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุกปลอดภัย การประชุมพิเคราะห์เหตุการณ์ตายของเด็กจากของเล่น และรายงานผล hot line สายด่วนของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุกอันตราย
5.ผลิตเครื่องมือเผยแพร่
6.จัดเวทีระดับชาติ เรื่อง ของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุกปลอดภัยระดับชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรอิสระ และภาค ประชาคม รวมทั้งจัดให้มีการ ฝึกอบรม บุคลากรสาธารณสุข พี่เลี้ยงศูนย์เด็ก และผู้ปฏิบัติหน้าที่ ดูแลเด็กเรื่องของเล่น เครื่องเล่นสนาม เครื่องเล่นสวนสนุกปลอดภัย
 
     
 
 
 
 
::